Contact

เก็บเรื่องราวเอามาแบ่งปัน คุยกันแบบกันเอง Contact me: thoshiro @live.com or thoshiro007 @gmail.com

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทำไมอเมริกาต้องบุกอิรัก (ลิเบียด้วยมั้งนี่)

หาข้อมูลแล้วเจอดังนี้ครับ   (น่าตกใจนะ)

เดินคนละฟาก
โดย กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3957 (3157)


เกจิอาจารย์ทางเศรษฐกิจเกือบทุกสำนักต่างประเมินว่าเศรษฐกิจของอเมริกาในปีหน้า 2008 มีลักษณะสาละวันเตี้ยลง อย่างไม่มีข้อสงสัย
และย่อมส่งผลถึงประเทศที่ยึดเอาเงินดอลลาร์เป็นพ่อหรือพระเจ้า
โดยไม่ยอมเปลี่ยนเงินสำรองของชาติ ไปเป็นเงินสกุลอื่น

นาย เอ็ดเวิร์ด เลเซียร์ ประธาน ของสภา ที่ปรึกษาเศรษฐกิจของทำเนียบขาว ได้ออกมาแถลงกับผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ก่อนหน้าที่ทำเนียบขาวเคยมองในแง่ดีว่า
จีดีพีในปีหน้า จะโตประมาณร้อยละ 3.1
แต่การประเมินใหม่ ตัวเลขจะเหลือเพียงร้อยละ 2.7
และตัวเลข คนตกงานจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.9

ปัญหาของซับไพรมหรือหนี้ด้อยคุณภาพใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ จะส่งผลถึงปีหน้า และทำให้ราคาบ้านลดลงแล้วร้อยละ 30 จากจุดที่เคยสูงสุด

ทาง ด้านไอเอ็มเอฟกลับประเมินตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกาไว้ เพียงร้อยละ 1.9 ในขณะที่จีน ยังสามารถเติบโตในอัตราใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 10 อินเดียก็เช่นเดียวกัน คือ ร้อยละ 8.4 และรัสเซียที่ ร้อยละ 8

ในขณะ เดียวกัน ทางกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว 25 ประเทศ หรือ OECD ก็ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจในประเทศของตนจะลดลงเหลือ ร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับ 2.7 ในปี 2007 ที่ผ่านมา (ดูตาราง)

อันที่จริงสาเหตุเศรษฐกิจขาลงทางด้านเศรษฐกิจมหภาค
ยังไม่ใช่สาเหตุหลักของหายนะของค่าเงินดอลลาร์ และจุดเริ่มความล่มสลาย ของระบบเศรษฐกิจอเมริกันในทศวรรษหน้า

สาเหตุที่แท้จริงคือ การซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกกำลังจะเปลี่ยนไปใช้เงินตราสกุลอื่น เช่น ยูโร หรือ เยน ที่เกิดจากการผลักดัน ของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา และล่าสุด ในการประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปก (OPEC) ครั้งที่ 146 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่เมืองอาบู ดาบี ประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ผ่านมานี้ อิหร่านได้กระโดดเข้ามาผลักดันแนวคิดนี้อย่างจริงจัง โดยเสนอให้ตั้งธนาคารโอเปกขึ้นมา และให้เลิกซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกด้วยเงินดอลลาร์

ทำไมการเลิกใช้เงินดอลลาร์เป็นการคุกคามเศรษฐกิจอเมริกา

ปี ที่แล้วอเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (current account deficit) $811 พันล้านเหรียญ - 8.11 ล้านล้านเหรียญ หรือ 6% ของจีดีพี ตัวเลขนี้ คือ รายจ่ายที่มากกว่ารายรับ

การ ที่อเมริกาเป็นประเทศเดียวที่สามารถ ขาดดุลชำระเงินและขาดดุลการค้าได้มากขนาดนี้ หรือ เรียกว่า "การขึ้นรถฟรี (free rider)" ก็เพราะได้ใช้อิทธิพลทำข้อตกลงกับกลุ่มประเทศโอเปกเมื่อปี 1971ให้การซื้อขายน้ำมันโลกใช้เงินดอลลาร์เพียงสกุลเดียว

ข้อ ตกลงนี้ทำให้ทุกประเทศที่บริโภคน้ำมัน ต้องสะสมเงินดอลลาร์เพื่อใช้ในการซื้อน้ำมันเข้าประเทศ และการซื้อขายน้ำมันโลกร้อยละ 85 ซื้อขายกันนอกประเทศสหรัฐอเมริกา และหมุนเวียนกันอยู่ภายนอกอเมริกา

ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางสหรัฐจึงสามารถพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาได้อย่างไม่จำกัด (ตามข้อตกลงของไอเอ็มเอฟ โดยที่ไม่ต้องมีทองคำมาสำรองตามจำนวนที่พิมพ์ออกมา) และไม่ต้องหวั่นว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นภายในประเทศ

เงินที่พิมพ์ ออกมานี้ก็คือเงินที่ใช้ในการซื้อสินค้าหรือจ่ายหนี้ให้ประเทศที่อเมริกานำ เข้าสินค้า มาตรฐานชีวิตคนอเมริกัน จึงสูงที่สุดในโลก เพราะพิมพ์เงินออกมาซื้อฟรี กินฟรีสินค้าจาก ทั่วโลก หรือลงทุนในประเทศอื่นๆเพื่อหากำไร ส่งกลับเข้าประเทศ ประเทศที่ขายสินค้าให้ อเมริกาก็นำเงินดอลลาร์มาเป็นเงินสำรอง หรือนำมาไว้ใช้ซื้อน้ำมันมาบริโภค และเพื่อนำเข้ามาผลิตสินค้าไว้ขายอเมริกาต่อไปเป็นวงจร

หรือไม่ก็นำ มาซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอเมริกัน (U.S. Treasury Bonds) ซึ่งก็คือ นำเงินที่ขายสินค้าได้ดุลมาให้อเมริกาที่เป็นผู้บริโภคกู้เพื่อนำมาซื้อ สินค้ากลับไปกินไปใช้ใหม่ (recycle)

ตัวเลขในปี 2007 จีน ถือพันธบัตรอเมริกันไว้ทั้งสิ้น 396.7 พันล้านเหรียญ หรือเกือบๆ 4 แสนล้านเหรียญ ส่วนญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ที่สุดของอเมริกา คือ 582.2 พันล้านเหรียญ หรือเกือบ 6 แสนล้านเหรียญ

ประเทศผู้ขายน้ำมันก็นำ เงินดอลลาร์มาขาย ในตลาดเงิน - Foreign Exchange Markets (Forex) เช่น ที่ลอนดอน หรือนิวยอร์ก สิงคโปร์ ให้ประเทศที่ต้องการบริโภคน้ำมันซื้อไปเพื่อใช้ซื้อน้ำมันต่อไป

เงินดอลลาร์จึงหมุนเวียนอยู่ภายนอกอเมริกาเป็นเช่นนี้มาหลายสิบปีติดต่อกันมา

แต่ วงจรนี้กำลังจะถูกทำให้สะดุด และอเมริกาจะยอมไม่ได้ เพราะว่าถ้าปล่อยให้มันเกิดขึ้น หนี้สินจำนวน 8.11 ล้านล้านเหรียญที่อเมริกา เป็นหนี้ชาวโลก ก็ต้องหามาจ่าย และอเมริกาก็ไม่มีเงินนี้จ่าย นอกจากจะต้องขายทรัพย์สิน หรือบริษัทไปสักครึ่งประเทศ

ประธานาธิบดีซัดดัมแห่งอิรักบังอาจท้าทาย ความเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของอเมริกา โดยขายน้ำมันของตน ด้วยเงินยูโรแทนดอลลาร์ ในปี 2000 และเปลี่ยนเงินสำรองประเทศของตนเป็นยูโรด้วย ทำให้หลายๆ ประเทศ ที่ซื้อน้ำมัน จากอิรักต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

ความ ต้องการ (demand) ดอลลาร์ในตลาดโลกจึงทยอยลดลง ในปี 2002 เงินดอลลาร์ มีค่าลดลงร้อยละ 18 พอถึงปี 2003 อเมริกา จึงบุกอิรัก โดยอ้างว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ (อิหร่าน อาจจะโดนเช่นเดียวกัน) จากนั้นก็เปลี่ยนการ ซื้อขายน้ำมันของอิรักจากเงินยูโรกลับมาเป็น เงินดอลลาร์ใหม่

อิหร่านเริ่มยุติการซื้อขายน้ำมันของตนจากเงิน ดอลลาร์มาเป็นเงินยูโรแทนเมื่อปี 2003 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ค่าเงินดอลลาร์ก็ลดลงแล้วถึงร้อยละ 30 ในวันนี้ ตามหลักความต้องการซื้อ (demand) และความต้องการขาย (supply) เมื่อความต้องการซื้อลดลง ราคาของสิ่งนั้นก็ลดตามด้วย

การ แก้เกมของอเมริกาคือ การปั่นราคาน้ำมันโลกให้สูงขึ้นเพื่อสร้างความต้องการซื้อดอลลาร์ให้อยู่ใน ระดับเดิม ทุกวันนี้ราคาน้ำมันจึงพุ่งทะยานขึ้นเกือบแตะ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลแล้ว

ถ้า วิธีนี้ไม่ได้ผล อเมริกาอาจจะตัดสินใจ โจมตีอิหร่านเหมือนเช่นที่ทำกับอิรักด้วยเหตุผลเดียวกันคือ กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยใช้ยุทธวิธี "โจมตีก่อนแล้วพิสูจน์ทีหลัง" (pre-emptive strike )

อย่างไรก็ตามอิหร่านเป็นประเทศใหญ่ กว่าอิรักมาก มีประชากรมากกว่า ถ้าอเมริกาโจมตี และเข้ายึดครอง ก็อาจจะเป็นสงครามยืดเยื้อกว่าสงครามอิรัก และอาจจะต้องลงทุนด้วยชีวิต ทหารอเมริกันมากกว่าอิรักอีกหลายเท่า

คนอเมริกันจำนวนมากจึงไม่เห็น ด้วย รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ รัฐบาล และสื่อมวลชน ดังนั้นจึงมีรายงานวิจัย เผยแพร่ออกมาว่าอิหร่านได้ยุติการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาแล้วตั้งแต่ปี 2003 เพื่อป้องกัน ไม่ให้ประธานาธิบดีบุชโจมตีอิหร่านเสียก่อน แล้วพิสูจน์ทีหลัง

ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ก็ยุติการขาย น้ำมันของตนด้วยเงินดอลลาร์ไปแล้ว แต่ขายเป็นเงินยูโรแทน ดังนั้นโอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่ากลับมามีอิทธิพลในตลาดเงินโลกเหมือน เดิมจึงมีโอกาสน้อย หรือเป็นไป ไม่ได้เลย

สถานการณ์ข้างต้นเป็น สัญญาณขาลงของอภิมหาอำนาจที่ครองความเป็นเจ้ามาเป็นเวลาเกือบ 60 ปี ซึ่งสั้นกว่ายุคล่าอาณานิคมที่ยาวนานเป็นร้อยปี

หายนะของประเทศไทย

การ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังดึงดันอิง ค่าเงินบาทกับดอลลาร์ และเก็บเงินสำรองของประเทศ เป็นเงินดอลลาร์ซึ่งนับวันจะมีค่าน้อยลงไปทุกวัน คือ ลางแห่งความหายนะของเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศ

ยิ่งนำเงินบาทไป สู้ค่าเงินเพื่อรักษาค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไปซึ่งความแข็งค่าของค่าเงิน บาท เป็นเพียงภาวะชั่วคราว และเป็นเพียงมายา เพราะไม่ได้เกิดจากการค้าที่เราได้ดุล แต่เกิดจากเงินร้อน (portfolio investment-PI) ไหลเข้ามาเก็งกำไรในตลาดทุน และตลาดเงิน ซึ่งสามารถไหลออกเมื่อไรก็ได้

การสู้ค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเพื่อช่วย ผู้ส่งออก ไม่กี่ราย และขาดทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท แต่ละเลยประโยชน์ที่ประเทศ จะได้กำไรจากการซื้อน้ำมันได้ถูกลงตามค่าเงิน ที่แข็งขึ้น เช่น ค่าเงินที่แข็งขึ้นร้อยละ 20 ไทยนำเข้าน้ำมันปีละ 5 แสนล้านบาท ก็จะประหยัดเงินไปได้ 1 แสนล้านบาท นี่ยังไม่รวมสินค้าทุน และวัตถุดิบที่นำเข้าในราคาถูกลงอีก

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ธุรกิจน้ำมันและโรงกลั่นเป็นกิจการของกลุ่มผูกขาด (oligopoly) เงินกำไรจากค่าเงินจำนวน 1 แสนล้านบาท จึงไม่ตกเข้ากระเป๋าของระบบเศรษฐกิจของประเทศ หรือประชาชนทั่วไป แต่ไปเข้ากระเป๋าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน ซึ่ง ปตท.ก็ถูกแปรรูปไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้นนโยบายของ ธปท.จึงเป็น 2 เด้งที่ซ้ำเติมประเทศชาติ ยิ่งการเมืองไทยในวันนี้ยังวนเวียนอยู่ในหมู่นักการเมือง ที่ล้วนเคยสร้างความหายนะให้กับประเทศชาติมาก่อนทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น