Contact

เก็บเรื่องราวเอามาแบ่งปัน คุยกันแบบกันเอง Contact me: thoshiro @live.com or thoshiro007 @gmail.com

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กล่อง ECU .ใครบอกว่าซ่อมไม่ได้?

อี ซียู (ECU=) หรือที่ช่างเครื่องยนต์ส่วนใหญ่เรียกสมองกล หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควบคุมระบบ กลไกต่าง ๆ ในรถยนต์ ซึ่งปกติเจ้าของรถมักไม่ค่อยได้ยินช่างพูดถึง แต่หากวันไหน พี่ช่างเอ่ยชื่ออุปกรณ์นี้ ก็เข้าใจเถอะว่า รายจ่ายก้อนใหญ่เพื่อการเปลี่ยนชิ้นส่วน แบมือรอแล้ว
   
ช่างส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากศูนย์บริการจะบอกตรงกันว่าซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนสถานเดียว ราคาประเมินอาจถึงสองหมื่นและไม่มีทางเลือกอื่น แต่อู่ซ่อมรถ และศูนย์บริการบางรายทราบดีว่า ในซอยจินดาถวิล ถนนสี่พระยา เขตบางรัก มีร้านซ่อมระบบไฟฟ้ารถยนต์ที่สามารถแก้ไข ซ่อมสมองกล ที่คนทั่วไปเชื่อว่าต้องเสียเงินเปลี่ยนใหม่เท่านั้น
   
อรุณ วิทยานุพงษ์ คือช่างไฟไฮเทคที่ว่า เขาเริ่มต้นชีวิตที่ก้าวสู่วงการอีซียูว่า ราว 30 ปีที่แล้ว ร่วมงานกับเพื่อนในกิจการซื้อเครื่องยนต์มือสองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้น เริ่มใช้เครื่องยนต์ที่มีสมองกลบ้างแล้ว แต่เมืองไทยส่วนใหญ่ใช้กันในหมู่รถแข่ง อรุณ มองเห็นทิศทางอนาคตว่า รถยนต์ที่เข้ามาเมืองไทยต้องใช้อุปกรณ์นี้แน่นอน จึงใส่ใจศึกษา รื้อแคะ แงะมาฝึกด้วยตนเองจนมีความรู้ พอ กลับมาถึงบ้านเกิดเมืองนอน จึงยอมลงทุนซื้อรถใหม่ป้ายแดงมาถอดเครื่องยนต์ออก แล้วเอาเครื่องมือสองจากญี่ปุ่นที่ใช้ระบบอีซียูมาซ้อมมือจนชำนาญ ก่อนที่รถที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้ รุ่นแรกจะเข้ามาขายในปี 2533
    
“จริงครับ อีซียู ซ่อมไม่ได้ เพราะมันประกอบด้วยชิป ซีพียู ทรานซิสเตอร์ ไดโอด หรือสวิตช์ทางเดียว ไอซี คอนเดนเซอร์ พวกนี้ติดตั้งด้วยคอมพิวเตอร์ ไม่ได้เชื่อมด้วยมือ แต่ที่ผมทำเป็นการเปลี่ยนชิป ของรุ่นเดียวกัน เบอร์เดียวกัน มีข้อมูลเหมือนกัน ซึ่งใช้แทนกันได้ อีซียูเหล่านี้ ผมซื้อมาเก็บเป็นอะไหล่ ความยากอยู่ที่การประกอบอย่างไรให้ลงตัว ต้องค่อยถอดตัวเก่า เอาตัวใหม่แล้วเชื่อมใหม่ให้ใกล้เคียงของเดิม”
   
งานส่วนใหญ่ของอรุณ มาจากอู่ซ่อมรถ ช่างไฟฟ้ารถยนต์ ที่แก้ไขปัญหาของเครื่องยนต์ไม่ตก เจ้าของรถมักไม่ได้มาเจอกับเขาโดยตรง โดยงานที่จะรับ ก็ต้องแน่ใจว่าทำได้ เพราะรถที่มาถึงเขา มักมีปัญหามากแล้ว ต้องเริ่มจากตรวจดู และสอบถามอาการเสียหายว่าเป็นอย่างไร แต่สำหรับรถรุ่นใหม่ เขามีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหรือแฮนด์เฮลด์ ช่วยตรวจสอบข้อมูล โดยเสียบเข้ากับเครื่องยนต์ ระบบจะช่วยสแกนหาสาเหตุ เพื่อให้การวินิจฉัยแคบลง เพื่อตรวจสอบหาจุดปัญหาใกล้เคียงมากที่สุด เพราะเครื่องตรวจไม่ได้บอกอาการละเอียด แต่ช่วยให้ตรวจง่ายขึ้น เช่น เครื่องเคยแจ้งว่าอุปกรณ์ช่วยลดมลพิษในไอเสียก่อนไหลเข้าสู่หม้อพักเสีย แต่เมื่อตรวจพบว่าเป็นเพราะสายไฟขาด
   
อรุณบอกอีซียูส่วนใหญ่ไม่เสียง่าย ปกติจะใช้งานได้อย่างดีจนถึง 10 ปี จึงเริ่มมีปัญหา ด้วยอาการก็ไม่ต่างกับระบบอื่น เช่น สตาร์ตไม่ติด เร่งไม่ขึ้น น้ำมันท่วม แต่ที่เสียก่อนเวลาและส่งมาให้ซ่อม มักโดนน้ำ เช่น น้ำท่วมใหญ่ตามเมืองต่าง ๆ จึงมีคำแนะนำว่า หากรถจมน้ำไม่ควรสตาร์ตเครื่อง รีบลากเข้าซ่อมทันที เพราะทิ้งไว้นานจะเกิดออกไซด์ หรือสารประกอบที่เกิดจากธาตุออกซิเจนรวมกับธาตุอื่น ๆ อีกสาเหตุที่ทำให้อีซียู ขัดข้อง มาจากการที่ช่างตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยการใช้ปลายสายไฟฟ้าจี้กัน เพื่อตรวจสอบกระแส รวมถึงการพ่วงแบตเตอรี่ผิดขั้ว หรือรถที่จอดทิ้งไว้นานจนแบตเตอรี่หมดประจุไฟฟ้า แล้วพ่วงแบตฯกับรถอื่น พอสตาร์ตได้ก็ถอดสายไฟออกทันที อาจทำให้ช็อต อีซียูเสียหายได้
        
แม้ปัจจุบันรถยนต์ใช้อีซียูเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่างที่จะซ่อมหรือแก้ไขปัญหายังมีน้อย มีกลุ่มช่างอิเล็กทรอนิกส์ที่รับงานซ่อม เพราะพื้นฐานใกล้เคียงกันแต่อรุณบอกไม่มั่นใจว่า การใช้อุปกรณ์หรือความรู้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปจะแก้ไขได้หรือไม่ แต่เขาเห็นว่าปัญหาการขาดแคลนช่างที่มีความรู้ทางด้านนี้มีอยู่ทั่วไป แม้จะมีสถาบันการศึกษาให้ความรู้เรื่องอีซียู ก็ไม่ได้เน้นการซ่อม เพราะไม่มีอุปกรณ์ให้นักศึกษาซ้อมมือ ขณะที่เขามีกล่องอีซียูเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะ 30 ปีที่ผ่านมา มีรถที่ผ่านการซ่อมโดยมือเขามาแล้วกว่าห้าพันคัน ดังนั้นจึงยินดีจะมอบกล่องอีซียูให้สถาบันการศึกษาที่มีผู้สอน นำไปให้นักศึกษาซ้อมหัดซ่อม ถอด
แก้ไข บัดกรี หรือทดสอบ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขใด ๆ
   
สถาบันการศึกษาที่ต้องการเขียนจดหมายแจ้งความจำนงถึง อรุณ วิทยานุพงษ์ ได้ที่ อรุณการไฟฟ้า 176 ซอยจินดาถวิล ถนนสี่พระยา เขตบางรัก 10500อรุณบอกว่ากว่าจะถึงวันนี้ เขาฝึกฝนแก้ไขปัญหาอีซียูให้สำเร็จมาแล้ว จากคันแรก ๆ ที่ทำเสร็จแล้วเจ้าของยังไม่เชื่อ จนเป็นที่ยอมรับในวงการ จึงอยากส่งเสริมให้นักศึกษาที่สนใจได้พัฒนาการเรียนรู้จากอุปกรณ์ที่เขามี จึงพร้อมจะให้ไปซ้อมมือฟรี ๆ.

วีระพันธ์ โตมีบุญ
Veerahant@gmail.com
http//twitter.com/vp2650
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=478&contentID=151918

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การปรับแต่งรถจักรยานให้พอดีกับตัวผู้ขับขี่



         คุณเชื่อไหมว่า ไม่มีใครถือ
สายวัดเข้าไปในร้าน ในตอนที่จะ
เลือกซื้อจักรยานคันแรก  แล้วเชื่อ
ไหมว่า แทบจะไม่มีใครเลยที่รู้จัก
ว่า  ชิ้นส่วนของจักรยานส่วนไหน
เรียกว่าอะไรบ้าง
         การเลือกรถจักรยานให้พอดีกับตัวคนขับขี่นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะง่ายนัก เพราะว่าถ้าจะ
ต้องการให้พอดีลงตัวจริงๆก็คงต้องเป็นแบบcustom-made bikeหรือวัดตัวตัดกันเลย เพราะ
เขาจะวัดช่วงขา( inseem lenght ) ,วัดช่วงตัว( torso lenght ) ,วัดช่วงแขน ,วัดความกว้าง
ของไหล่ฯลฯ เพื่อจะทำจักรยานที่มีความยาวของท่อต่างๆตรงกับขนาดของผู้ขับขี่มากที่สุด แต่
จักรยานประเภทนี้ไม่ใช่ว่าจะหากันง่ายๆ ส่วนราคานั้นก็แพงเอาเรื่องเลยทีเดียว ซึ่งถ้าใครเล่น
จักรยานเสือหมอบเมื่อสมัยก่อน ก็คงรู้จักกับร้านจักรยานแถววรจักร ซึ่งรับวัดตัวตัดจักรยานกัน
เป็นอย่างดี ซึ่งสมัยก่อนนั้นจักรยานสำเร็จรูปจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก ซ้ำยังหาขนาดที่
พอดีกับตัวไม่ง่ายนัก เพราะเสือหมอบจะseriousกับขนาดของรถเป็นอย่างมากผิดกับเสือภูเขา
ที่ยังมีความยืดหยุ่นกว่า   แต่วัสดุที่จะหามาใช้นั้นเป็นเหล็กhigh tensile steel ซึ่งมีน้ำหนัก
ค่อนข้างมาก ภายหลังนั้นได้เสื่อมความนิยมลง เนื่องจากรถสำเร็จรูปจากต่างประเทศมีราคาลด
ลง มีขนาดให้เลือกมากขึ้น รวมไปถึงน้ำหนักที่เบากว่า

         คราวนี้เมื่อแบบวัดตัวตัดมีราคาแพง แต่แบบสำเร็จรูปมีราคาถูกลง  คนจึงหันมาเล่นแบบ
สำเร็จรูปมากขึ้น ซึ่งจักรยานพวกนี้จะคล้ายกับเสื้อผ้าสำเร็จรูปเช่นกัน คือทำมาเป็นขนาดแบบ
คร่าวๆ เช่น e
XtraSmall , Small , Medium , Large , eXtraLarge  ซึ่งแต่ละขนาดก็จะ
เหมาะสมกับคนที่มีความสูงอยู่ในช่วงที่เขากำหนด  โดยที่ผู้ผลิตจะวัดสัดส่วนของประชากรใน
แต่ละกลุ่มช่วงความสูงนั้นๆแล้วจึงนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย เพื่อจะได้จักรยานที่มีขนาดความ
ยาวของท่อต่างๆใกล้เคียงกับสัดส่วนของคนในกลุ่มนั้นๆมากที่สุด ซึ่งในแต่ละยี่ห้อจะแตกต่าง
กันไปตามgeometry ที่เขาออกแบบไว้  และอาจจะแตกต่างกันในเรื่องของขนาดช่วงความสูง
อีกด้วย ซึ่งคล้ายๆกับเสื้อผ้าสำเร็จรูปนั่นแหละครับ

         
การกำหนดขนาดของจักรยานโดยการวัดความยาวของท่ออาน (seat tube) จากจุดกึ่ง
กลางของกระโหลก(bottom bracket)ไปยังสุดปลายของท่ออานหรือที่เรียกว่า
Center to top
ได้เป็นที่นิยมกันในหลายๆยี่ห้อ  ซึ่งถ้าเป็นจักรยานในสมัยก่อนคงจะกะขนาดได้ไม่ยากนัก
เพราะส่วนปลายของท่ออานจะโผล่พ้นขอบบนของท่อบน(top tube)ออกมาเพียงเล็กน้อย แต่
สำหรับเสือภูเขาในปัจจุบันคงจะบอกยากสักหน่อย  เพราะว่าแต่ละยี่ห้อนั้นปลายของท่ออานที่
โผล่พ้นออกมาจากขอบบนของท่อบนมีความสั้นยาวที่แตกต่างกันมาก  จึงทำให้ไม่สามารถกะ
เกณฑ์ได้ว่าเฟรมขนาดเดียวกันในต่างยี่ห้อจะมีขนาดใกล้เคียงกันหรือไม่

         อย่างไรก็ตาม ในบางยี่ห้อก็ยังมีการวัด
ขนาดของจักรยานที่แตกต่างกันออกไป  โดย
จะวัดจากกึ่งกลางกระโหลก  ไปยังกึ่งกลางของ
ท่อบนตรงส่วนที่มาเชื่อมติดกับท่ออาน ซึ่งจะ
เรียกกันว่า
Center to center  แล้วนอกจาก
นี้บางยี่ห้อที่ท่อบนมีขนาดใหญ่  ก็อาจวัดจาก
กึ่งกลางกระโหลก ไปยังขอบบนของท่อบนตรง
ส่วนที่มาเชื่อมติดกับท่ออาน  ถ้าเราจะเรียกว่า
Center to top of top tube ก็คงได้ครับ

         ดังนั้นจักรยานที่ต่างยี่ห้อกันเราอาจไม่รู้เลยว่าขนาดจะแตกต่างกันอย่างไรถ้าไม่รู้วิธีใน
การวัด เช่น DBR 16"กับTrek 16.5" ถ้าเอามาเทียบกันจะพบว่าDBR 16"มีขนาดใหญ่กว่า
Trek 16.5 "อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เพราะDBR วัดจากCenter to center   แต่Trek วัดจาก
Center to top

         ไปดูเรื่องขนาดคนก่อนไหม?
         คุณคิดว่าคนที่มีส่วนสูงเท่ากันจะมีขนาด
ของร่างกายเท่ากันไหม ก็คงจะบอกว่าไม่เท่ากัน
โดยเฉพาะถ้าเทียบระหว่าง คนไทยกับฝรั่ง  แม้
กระทั่งคนไทยกับคนไทยด้วยกัน ไม่ว่าระหว่าง
เพศเดียวกันหรือระหว่างเพศชายกับเพศหญิง
         เขาแบ่งร่างกายออกเป็นส่วนๆยังไงบ้าง

  1. inseem length
  2. เป็นความยาวช่วงขาที่วัดจากเป้ากางเกง ไปยังส้นเท้าในท่ายืนเหยียดเข่าตรง ซึ่งจะมีวิธีวัดได้ง่ายๆ และแม่นยำพอสมควรโดยไม่ต้องใช้เครื่องวัดตัว
    • ใช้สมุดหรือหนังสือปกแข็ง ที่มีสันปกหนาประมาณ 1นิ้ว แล้วเอาขาหนีบเอาไว้ ดันให้สันปกประชิดติด ระหว่างขาให้แน่นที่สุด แล้วเอาขอบของสมุด (ด้าน ที่ตั้งฉากกับสันปก)ไปชนกับกำแพง  ยืนตัวตรงส้น เท้าชิดพื้น กดสันปกให้ชิดหว่างขา แล้วขีดเส้นบน กำแพงในแนวเดียวกับสันปก  วัดระยะทางระหว่าง เส้นที่ขีดนี้กับพื้น ก็จะได้เป็นค่า inseem length ( ดังรูปด้านขวามือ )
  3. Torso length
  4. เป็นความยาวช่วงลำตัว โดยวัดจากไหล่ลง ไปหาเป้ากางเกง ในทางปฏิบัตินั้นจะวัดในท่ายืนตรงแขน สองข้างแนบลำตัว แล้ววัดระยะทางจากเป้ากางเกงขึ้นไปถึง ขอบบนสุดของกระดูกกลางอก ( รอยบุ๋มระหว่างหัวของกระ ดูกไหปลาร้า ใต้คอลงมา ) ตำแหน่งนี้จะตรงแนวไหล่พอดี
  5. Head length
  6. เป็นความยาวช่วงคอ+ศีรษะ
  7. Arm length
  8. เป็นความยาวช่วงแขน โดยวัดจากไหล่ไปยัง กึ่งกลางฝ่ามือ ในทางปฏิบัติจะวัดในท่ายืนกางแขนตั้งฉาก กับลำตัว เหยียดแขนตรง มือกำดินสอ วัดระยะจากหัวไหล่ ไปยังดินสอ
  9. ความกว้างของไหล่
  10. จะวัดในท่ายืนตรงแขนสองข้างแนบชิด ลำตัว แล้ววัดระยะห่างจากขอบนอกของหัวไหล่ทั้งสองข้าง
          ซึ่งในทางทฤษฎี เมื่อผู้ชายมีอายุย่างเข้าวัย 25 ปีหรือ ผู้หญิง
มีอายุย่างเข้าวัย 20 ปี ส่วนสูงของร่างกายจะไม่เพิ่มขึ้นอีก จุดกึ่งกลาง
ความสูงของร่างกายควรจะอยู่บริเวณขอบบนของเนินกระดูกหัวเหน่า
( Pubic symphysis
,ปลายลูกศรสีดำในรูปด้านขวามือ )แต่นั่นมัน
ก็เป็นเพียงแค่ทฤษฎี เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นความยาวinseemควรจะ
เกือบเท่ากับครึ่งหนึ่งของความสูงรวมของร่างกาย ( ประมาณ46-48%
ของความสูงรวม ) แต่ในคนไทยมักจะไม่เป็นเช่นนั้น เหตุผลสำคัญ
มาจากเรื่องของอาหารการกิน และการออกกำลังกายนี่แหละ  ที่มีส่วน
ทำให้คนไทยโดยเฉลี่ยมีสัดส่วนช่วงขาที่ค่อนข้างจะสั้นทั้งผู้หญิงและ
ผู้ชาย (ส่วนผู้หญิงที่เห็นช่วงขายาวๆนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะมีให้เห็นบ่อยๆ
หรอกนะครับ ถ้าจะเห็นก็คงเห็นจากพวกดารานางแบบนี่แหละครับ)
ถ้าเราลองมาดูพวกฝรั่ง ก็จะพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วฝรั่งจะดื่มนมเป็น
สัดส่วนที่สูงกว่าคนไทย รวมไปถึงมีการเน้น และปลูกฝังให้เด็กมีการ
ออกกำลังกายหรือได้เล่นกีฬาเป็นประจำ กระดูกขาจึงรับแรงกระแทก
จากพื้นดินอยู่เสมอๆ ส่งผลกระตุ้นให้มีการหลั่ง growth hormone
ออกมาในสัดส่วนที่สูงกว่า ทำให้กระดูกท่อนยาว (long bone) เช่น
กระดูกแขน,ขา ถูกกระตุ้นให้เจริญงอกยาวกว่าเด็กไทย จึงไม่ใช่เรื่อง
แปลกอะไรที่จะเห็นคนไทยเรานั่งคุยกับฝรั่งในระดับศีรษะที่เท่ากัน
พอลุกขึ้นยืนคุยกัน ทำไมหัวเราอยู่แค่หูเขาเท่านั้น  อะไรทำนองนั้น
แหละครับ ส่วนใครจะว่าเป็นเรื่องของชาติพันธุ์ก็คงไม่ใช่เสียทั้งหมด
เพราะฝรั่งที่มีสัดส่วนขาสั้นหลังยาวก็มีให้เห็นบ่อยไป ถ้าชาติพันธุ์จะ
มามีส่วนเกี่ยวข้องก็คงเป็นเรื่องความสูงรวมๆนี่แหละครับที่พอจะเห็น
กันได้ชัดเจนหน่อย
( ลองมองย้อนหลังไปดูญี่ปุ่นในยุคก่อนและหลัง
สงครามโลกครั้งที่สองเปรียบเทียบกันสิครับ แล้วจะเข้าใจเรื่องอิทธิพล
ของอาหารและการออกกำลังกาย )

         ความยาวแขนและความยาวช่วงขาจะมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งคนที่ขายาวก็มักจะมีแขนที่
ยาวด้วย และคนที่มีช่วงขาสั้นก็มักจะมีแขนที่สั้นด้วยเช่นกัน ( เพราะว่าแขนและขา ต่างก็เป็น
long boneซึ่งจะได้รับอิทธิพลจากgrowth hormoneเช่นกัน ถ้าขาได้รับการกระตุ้นให้งอก
ยาวออก แขนก็จะได้รับเช่นกัน เพียงแต่ว่าสัดส่วนอาจจะแตกต่างกันในแต่ละคน และระหว่าง
เพศชายและหญิง )

         inseem length จะมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกขนาดของจักรยาน  โดยพิจารณา
จากระยะห่างระหว่างท่อบนกับพื้นดิน (stand over height)ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
(จะกล่าวถึงในตอนต่อไป)แล้วยังมีผลต่อความยาวของหลักอานที่จะใช้   ส่วนtorso length +
arm length จะเป็นตัวกำหนดการเลือกความยาวของท่อบน + ความยาวของคอ (stem) รวม
ไปถึงมุมก้มมุมเงยของคอ(stem angle)

         แล้วจักรยานหละมีอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง
  1. ค่า Stand over height
    • เป็นระยะห่างระหว่างขอบบนของท่อบน( Top tube ) กับพื้นดิน  แล้วในทาง
      ปฎิบัติจะวัดตรงบริเวณไหนของท่อบน เพราะในเสือภูเขานั้นส่วนท่อบนจะลาด
      เทจากด้านหน้าลงมาหาท่ออาน(Seat tube) ซึ่งสเปคของแต่ละค่ายแทบจะไม่
      เหมือนกันเลย รวมไปถึงวิธีในการวัดด้วย  โดยส่วนตัวแล้วจะใช้วิธีไปยืนคร่อม
      จักรยาน  แล้วเอาหลังแตะกับส่วนหน้าสุดของอาน  จากนั้นจึงวัดความสูงของท่อ
      บนในตำแหน่งที่ตรงเป้ากางเกง ก็จะได้ค่าstand over height ใกล้เคียงความ
      จริงที่ใช้งานที่สุด

    • Stand over height เป็นค่าความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในการใช้จักรยาน  ใน
      ท่านั่งปั่นจักรยานที่ถูกต้องนั้น ปลายเท้า2ข้างของเราจะไม่สามารถสัมผัสพื้นได้
      การลงจากจักรยานโดยวิธีพื้นฐานจะใช้การหยุดรถ  แล้วลงจากอานมายืนคร่อม
      ท่อบน  โดยวิธีการนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเหลือระยะห่างระหว่าง เป้ากางเกง
      กับ ขอบบนของท่อบน พอสมควรสำหรับความปลอดภัย (โดยเฉพาะผู้ชาย)  
      ซึ่งจะได้กล่าวให้ทราบในตอนต่อไป

    • ค่าStand Over Height ในรถแต่ละคันจะมีความแตกต่างกันโดยมีผลมาจาก
      1. มุมของท่ออาน(Seat tube angle,มุมที่ท่ออานทำกับแนวระนาบ) และ
        ความยาวของท่ออานจากกึ่งกลางกระโหลกไปยังขอบบนของท่อบน  หรือ
        center to top of top tube
      2. ความสูงของกระโหลกจากพื้นดิน ในรถบางยี่ห้ออาจจะมีความสูงของกระ-
        โหลกจากพื้นดินค่อนข้างมาก เนื่องจากออกแบบให้ใช้กับภูมิประเทศที่มี
        ก้อนหินใหญ่  เพื่อลดโอกาสที่ส่วนของกระโหลก บันได รวมไปถึงใบจาน
        จะกระแทกกับก้อนหิน
      3. ระยะยุบตัวของชอคแอบซอบเบอร์หน้า (front shock absorber) ชอค
        หน้ารุ่นก่อนๆจะมีระยะยุบตัวที่ประมาณ 2นิ้วครึ่งหรือ 63 มม. ภายหลัง
        ได้มีการเพิ่มระยะยุบตัวขึ้นอีกเป็น 3นิ้วเศษหรือ 80 มม.  ซึ่งทางRock
        shox เรียกมันว่า long travel shock absorber(อย่าสับสนไปแปลว่า
        ชอคแอบซอบเบอร์สำหรับการเดินทางระยะไกลนะครับ เป็นคนละความ
        หมายกันเลยทีเดียว)  ในชอคประเภทหลังนี้จะมีความยาวของขาชอคใน
        ระยะพักมากกว่าพวกแรกประมาณกว่าครึ่งนิ้วหรือ17มม.ซึ่งจะทำให้ส่วน
        หน้าของจักรยานถูกยกสูงขึ้นด้วย
      4. รูปร่างของท่อบน( Top tube shape ) โดยทั่วไปจักรยานส่วนใหญ่จะ
        ใช้ท่อบนมีลักษณะเป็นท่อลาดตรงแต่ในปัจจุบันจักรยานหลายยี่ห้อและ
        หลายรุ่นทีเดียวที่ทำท่อบนให้โค้งลงเพื่อชดเชยกับความสูงของกระโหลก
        และระยะยุบตัวของชอคหน้าที่เพิ่มขึ้น จึงคล้ายๆกับจะเป็นการเอาใจคน
        ที่มีช่วงขาสั้น ไปกลายๆ

  2. ค่า Effective top tube length หรือ Horizontal top tube length
    • ถ้าเราวัดความยาวของท่อบนตามความยาวจริง( actual length ) เราอาจจะไม่
      สามารถบอกได้ว่ารถคันนี้มีช่วงยาวจริงๆสักแค่ไหน และไม่สามารถเทียบระยะ
      ห่างระหว่างท่อคอ(head tube)กับอานได้เพราะว่าในจักรยานแต่ละขนาด มุม
      ลาดของท่อบนจะแตกต่างกัน ทำให้การวัดความยาวจริงๆไม่ได้ประโยชน์อะไร
      เราจึงต้องวัดความยาวของท่อบนตามแนวราบแทน   โดยวัดความยาวของเส้นที่
      ลากจากจุดกึ่งกลางตรงบริเวณปลายท่อบนเชื่อมกับท่อคอ ตามแนวขนานกับพื้น
      ราบไปจนถึงกึ่งกลางของท่ออาน หรือหลักอาน(seat post)  ความยาวที่วัดได้นี้
      เรียกว่า"effective top tube length"หรือ"horizontal top tube length"ซึ่ง
      ในบางยี่ห้ออาจจะวัดแตกต่างกันไป

    • Effective top tube lengthจะเป็นค่าที่ใช้พิจารณาประกอบการเลือกขนาดรถ
      ให้เหมาะสมกับตัวเรา


  1. ความยาวและมุมก้มเงยของคอ ( stem length and stem angle )
    • โดยปกติแล้วคอ (stem) ที่ติดมากับรถจะมีความยาว และมุมเฉลี่ยสำหรับคนที่
      อยู่ในช่วงความสูงเฉลี่ยของรถขนาดนั้นๆและจะเหมาะสมกับลักษณะการใช้รถ
      ด้วย เช่น รถเพื่อการออกกำลังกาย หรือ รถเพื่อการแข่งขัน

    • คอมีค่าความยาวหลากหลายขนาด  โดยสากลจะวัดจากจุดศูนย์กลางของด้านที่
      จับกับแกนชอค ไปยังจุดศูนย์กลางของด้านที่จับกับแฮนด์ (handle bar) อาจ
      จะมีค่าตั้งแต่ 75 - 150 มม. ในแต่ละยี่ห้อจะแบ่งขั้นความยาว ( Increment )
      ไม่เท่ากัน

    • มุมก้มเงยของคอ เป็นมุมที่แนวแกนของคอทำกับเส้นที่ลากตั้งฉากกับแกนชอค
      (ดูรูปด้านบนประกอบ)ซึ่งจะมีค่าหลากหลายตามแต่ละยี่ห้อ  ในบางยี่ห้อยังอาจ
      จะวัดมุมที่แนวแกนของคอทำมุมกับแกนชอคแทน เช่น 90 องศาก็จะเท่ากับ 0
      องศา ของแบบแรก ) ถ้าต้องการมุมที่ก้มลง หรือมุมติดลบก็ให้กลับคว่ำคอลง

    • มุมก้มเงยของคอนั้นเราสามารถเลือกเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับความยาวช่วงตัว
      ช่วงแขน และลักษณะลีลา รวมไปถึงนิสัยใจคอในการขับขี่ ของผู้ขับขี่เอง

  2. แฮนด์ ( handle bar )
    • แฮนด์โดยทั่วไปจะมีความกว้างอยู่ในช่วง 21-24"
    • แฮนด์มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
      • แฮนด์ตรง ซึ่งที่จริงแล้วมันก็ไม่ได้ตรงเหมือนชื่อ เพราะมีมุมเอนไปด้าน
        หลังอาจจะตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 12 องศา
      • แฮนด์ยกหรือที่เรียกว่าแฮนด์ปีกนก (มันคงจะคล้ายจริงๆกระมัง) จะเห็น
        ได้ในรถกลุ่มdownhill หรือ freeride ซึ่งเป็นแฮนด์ที่นั่งขี่สบาย

  3. ค่าอื่นๆ
  4. ความยาวของช่วงล้อ(wheel base),ความยาวของตะเกียบโซ่(chain stay),มุมท่ออาน
    (seat tube angle), มุมท่อคอ(head tube angle) คงจะขอละเอาไว้ เนื่องจากเราไม่
    สามารถไปกำหนดกะเกณฑ์กับมันได้ เพราะว่ามันจะขึ้นกับการออกแบบรถรุ่นนั้นๆว่า
    ต้องการจะให้เป็นรถเพื่อใช้ในการแข่งขัน หรือ รถเพื่อออกกำลังกาย หรือ Sport utility
    หรือเป็นCity bike  ตัวอย่างเช่นรถที่ออกแบบมาสำหรับเป็นรถแข่งจะมีช่วงล้อที่สั้นกว่า
    มีมุมท่อคอและมุมท่ออานที่ชันกว่ารถที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับออกกำลังกาย  เพราะ
    รถแข่งย่อมเน้นที่ความคล่องแคล่วและปราดเปรียว ต่างจากรถที่ใช้ในการออกกำลังกาย
    ซึ่งเน้นที่การขี่ง่าย และเสถียรภาพของการทรงตัว  อันนี้คงจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการ
    เลือกซื้อรถของเรา
  • HTA = head tube angle
  • STA = seat tube angle
  • CS = chain stay length

         แล้วตัวของเราหละปรับแต่งอะไรได้บ้าง
          คงจะต้องเรียนให้ทราบตรงๆว่าคงจะปรับแต่งอะไรไม่ได้มากไปกว่าที่เป็นอยู่หรอกครับ
(ยกเว้นจะมีใครบริจาคให้ทุนไปเกิดใหม่อะไรทำนองนั้นแหละ)เมื่อรู้ว่าปรับแต่งอะไรไม่ได้อีก
แล้วก็คงจะต้องยอมรับสังขารของเราแหละ  สิ่งแรกที่อยากจะแนะนำก็คือลองวัดความยาวช่วงขา
ดูก่อนไหมครับว่ามันสั้นหรือยาวได้ส่วนหรือไม่ เพราะว่าอย่างน้อยมันก็มีส่วนช่วยให้ตัดสินใจ
เลือกรถได้ง่ายขึ้นบ้าง

         คราวนี้ก็คงถึงเวลาที่จะเสียเงินซื้อรถกันหละสิ คงตัดสินใจกันได้แล้วนะครับว่า จะซื้อรถ
เพื่อเอาไปทำอะไรดี จะเอาไปใช้จ่ายตลาด ออกกำลังกาย หรือ มากไปกว่านั้น อันนี้คงต้องแล้ว
แต่ใจและงบประมาณกันแล้วหละครับ หาร้านที่เชื่อใจได้(พิสูจน์กันเอาเองนะครับ)  เลือกรถที่
ถูกใจทั้งยี่ห้อ รุ่น สีสัน อุปกรณ์ที่ติดมากับรถ ของแถม แล้วก็ต้องเลือกให้ได้ขนาดที่พอดีกับตัว
ของเรา ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญทีเดียวเลย เพราะว่าอุปกรณ์อื่นๆถ้าไม่พอใจก็พอจะเปลี่ยนกันตรง
นั้นได้เลยหรือไม่ก็อาจจะupgradeกันใหม่ได้ในภายหลัง
แต่สำหรับเฟรมแล้วถือว่าเป็นหัวใจ
หลักของจักรยานเลยทีเดียว ถ้าซื้อผิดขนาดก็คงแก้ไขอะไรได้ยาก
แต่ก็แปลกที่คนส่วนมากมัก
จะซื้อรถที่มีขนาดใหญ่กว่าสัดส่วนของตัวเอง

         บังเอิญคุณไปพบจักรยานที่ถูกใจเข้าแล้วหละ  คราวนี้จะรู้ได้ยังไงหละว่ามันได้ขนาดพอ
ดีหรือเปล่า
  • ขั้นแรก
  • คือให้คุณถอดรองเท้าออกแล้วลองไปยืนคร่อมท่อบนของจักรยานคันนั้น ถ้าคุณ เป็นคนที่มีสัดส่วนของร่างกาย รวมไปถึงความยาวช่วงขาที่ไม่ได้เบี่ยงเบนต่างไปจากค่า เฉลี่ยปกติของกลุ่มประชากรที่มีความสูงเท่าๆกับคุณแล้ว  ขนาดของจักรยานเสือภูเขาที่ ออกแบบมาให้คุณใช้นั้นควรจะมีระยะห่างวัดจากท่อบนถึงเป้ากางเกงของคุณอยู่ในช่วง 2 - 4 นิ้ว ( inseem length ยาวกว่า stand over height 2 - 4 นิ้ว ) แต่บางครั้งอาจ จะมีปัญหาสำหรับบางคน เช่น ผมมีส่วนสูง167.5ซม. inseemยาว 79ซม.หรือ 31นิ้ว นิดๆ แต่ยังสามารถยืนคร่อม Klein attitude'98 size M (ซึ่งออกแบบมาสำหรับคนที่ สูง 170 - 177 ซม)ได้สบาย โดยยังเหลือระยะห่าง 2 นิ้ว ในขณะที่ถ้ามายืนคร่อมsize S (ซึ่งออกแบบมาสำหรับคนที่สูง 162 - 170 ซม)จะเหลือระยะห่างร่วมๆ 4 นิ้ว ผมอาจ จะเลือกSize M ที่ดูสวยกว่า (รถsize ใหญ่กว่าจะดูสวยกว่ารถsizeเล็ก) คนส่วนใหญ่ก็ มักจะเผลอเลือกรถที่ใหญ่กว่าตัวเองเสมอๆ เพราะนอกจากจะดูสวยแล้ว  ก็ยังขี่ได้ง่ายใน ทางเรียบหรือทางตรง แต่ถ้ามาดูกันลึกๆก็จะพบว่า รถsize M มันใหญ่กว่าผมเล็กน้อย เพราะว่าในการเอื้อมจับแฮนด์ ผมจะต้องโน้มตัวไปด้านหน้ามากกว่าที่ควร อยู่เล็กน้อย ตรงกันข้ามกับรถsize S ซึ่งนั่งได้สบายกว่า หลังอาจจะตั้งไปนิดหนึ่งแต่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะเรายังปรับแต่งมันได้อีก
    • สำหรับคนที่มีinseem length สั้นเกินกว่าที่ควรจะเป็น การเลือกขนาดโดยใช้
      วิธียืนคร่อมเพื่อดูระยะห่างเช่นคนทั่วๆไปนั้น ก็อาจจะได้รถที่เล็กเกินไป
    • และคนที่มีinseem length ยาวเกินกว่าที่ควรจะเป็น การเลือกขนาดโดยใช้วิธี
      ยืนคร่อมเพื่อดูระยะห่างเช่นคนทั่วๆไปนั้น ก็อาจจะได้รถที่รถที่ใหญ่เกินไป
          ทางออกสำหรับคนกลุ่มนี้ ก็คือจะต้องไปเทียบกับคนที่มีส่วนสูงใกล้เคียงกันว่าเขาขี่ รถขนาดไหนลงตัว แล้วเอามาดัดแปลงให้เข้ากับตัวเอง หรืออาจต้องหาทางออกด้วยการ วัดตัวตัดจักรยานกัน ( แพงนะ )       รถใหญ่กว่าตัวเล็กน้อย กับรถเล็กกว่าตัวเล็กน้อยมันต่างกันอย่างไร       หลายๆคนคงอาจจะคล้ายกับผมที่มีปัญหาในการเลือกรถที่มีขนาดคร่อมsize  ซึ่ง พูดง่ายๆว่า ส่วนสูงของร่างกายเราสามารถขี่รถได้ 2ขนาด เช่น คร่อมกลางระหว่างsize S กับsize M  เรามาดูข้อแตกต่างเปรียบเทียบกันดีกว่าครับ
    • รถที่ใหญ่กว่าตัวเล็กน้อย
      • มีข้อดี ได้แก่ ดูสวย ขี่ออกกำลังกายหรือเดินทางในทางเรียบสบาย รถนิ่ง
        ไม่ค่อยแกว่งไปมา
      • ข้อเสียที่สำคัญคือ จะเป็นรถที่ขาดความคล่องตัวโดยเฉพาะการเข้าโค้งที่
        ความเร็วสูง หรือ การเลี้ยวในที่คับแคบ เช่น ในทางSingle tract  (ทาง
        แคบๆที่รถจะผ่านไปได้ทีละคัน) และที่สำคัญก็คือในกรณีที่ต้องการไป
        ลุยในทางโหดๆหรือทางที่มีหินก้อนใหญ่ๆ ระยะห่างระหว่างเป้ากางเกง
        กับท่อบนอาจจะไม่มากพอ ที่จะให้ความปลอดภัยได้
    • ในขณะที่รถที่เล็กกว่าตัวเล็กน้อย
      • ข้อเสียจะมีก็เพียงแค่ดูไม่สวยนัก ท่อบนที่ลาดลงมากๆทำให้ดูไม่ค่อยจะ
        ขลัง  เวลาปั่นด้วยความเร็ว รถจะไม่ค่อยนิ่ง หรืออาจจะรู้สึกแกว่งๆ
      • ข้อดีที่สำคัญคือ จะว่องไวในทางโค้ง ทรงตัวหรือเลี้ยงตัวได้ดีในทางแคบ
        รวมไปถึงระยะปลอดภัยที่เหลือเฟือสำหรับการลุย
          ข้อสรุปคือ คุณควรจะเลือกรถที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่คุณยังขี่ได้อย่างสบาย (ถ้าหาก คร่อมsize ก็ควรเลือกขนาดเล็กกว่าไว้จะดีกว่าครับ)
  • ขั้นที่สอง
  • คุณต้องลองมันดูดัวยตัวของคุณเอง เริ่มต้นด้วยการลองปั่นมันไปรอบๆร้าน ดู ว่าท่านั่งและความรู้สึกในการบังคับควบคุมเป็นอย่างไร ซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยลองมาก่อน อาจจะเป็นเรื่องที่ยากมากสักหน่อย คงต้องอาศัยคนขาย( ซึ่งควรจะไว้ใจได้ ) หรือเพื่อน ผู้มีประสพการณ์เป็นผู้ช่วยสังเกตให้ว่าท่านั่งเป็นอย่างไร ท่านั่งที่เหมาะสมนั้นแนวหลัง จะทำมุมกับพื้นราบ 45 ํ ศอกจะหย่อนเล็กน้อยไม่ใช่เหยียดตรงจนสุด  ส่วนท่านั่งที่ไม่ เหมาะสมนั้นตัวคุณเองอาจจะไม่รู้สึกอะไรในช่วงแรก (เพราะความรู้สึกอยากจะเสียตังค์ ซื้อมันมาบดบัง) แต่หลังจากที่ปั่นไปได้สักพักหนึ่ง มันจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเอว,หลัง ไหล่,คอ ซึ่งนั่นก็มักจะหลังจากที่คุณจ่ายเงินซื้อมันกลับไปปั่นที่บ้านแล้วเท่านั้น       มันอาจจะใจร้ายไปสักนิด ที่จะบอกว่าคุณจะต้องเป็นผู้สรุปเองว่าพอใจกับรถคันนั้น หรือไม่ เพราะว่าคุณเป็นผู้จ่ายเงิน มิใช่เพื่อนหรือคนขาย  ถ้าแน่ใจว่ารถคันนั้นมีขนาด พอดีกับตัวของคุณเองและเป็นที่ถูกใจจริงๆ ก็ซื้อมัน ส่วนเรื่องท่านั่งที่อาจจะรู้สึกว่ายังไม่ ค่อยจะลงตัวเท่าไรนัก เรายังสามารถปรับแต่งมันได้อีกพอสมควร 
         การปรับแต่งรถให้พอดีกับตัวผู้ขับขี่
         การปรับแต่งรถให้พอดีกับตัวผู้ขับขี่นั้น จะยึดหลักการของความสบายและความปลอดภัย
ของผู้ขับขี่ สามารถบังคับควบคุมรถได้ง่ายรวมไปถึงออกแรงปั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้
ถ้าหากเลือกรถที่ไม่ถูกขนาดเสียตั้งแต่แรกแล้ว ทางออกในการปรับแต่งรถให้ลงตัวกับคนขับขี่ก็
อาจจะทำได้ไม่มากนัก
  1. ความสูงของอาน
  2.   โดยเฉลี่ยแล้วหลักอานมาตรฐานที่มีในท้องตลาดจะมีความยาวตั้งแต่ 330 ,350 ,370 ,410 mm ซึ่งอาจหลากหลายมากไปกว่านี้   ในรถที่เล็กกว่าเราเกินไป หลักอานที่ติดมากับรถซึ่งมักจะยาวไม่เกิน 350 mm  ก็อาจจะถูกยืดออกมาจนเลยระยะ ปลอดภัยของหลักอานได้  ในขณะที่รถที่ใหญ่กว่าเรา หลักอานจะโผล่ออกมาจากท่ออาน เพียงเล็กน้อย ดูกุดๆยังไงก็ไม่รู้เหมือนกัน โดยทั่วไปแล้วความสูงของอานที่เหมาะสม จะ ทำให้เราสามารถขึ้นลงได้สะดวก ออกแรงถีบบันไดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รวมไปถึงลด โอกาสที่จะทำให้มีอาการปวดเข่า       ความสูงของอานที่พอเหมาะนั้น ถ้าเราสวมรองเท้าแล้วเหยียบบันไดด้วยส่วนที่ค่อน ไปทางปลายเท้า ( ในตำแหน่งที่ตรงกับข้อโปนของโคนนิ้วหัวแม่เท้า ) แล้วถีบบันไดลง ล่างให้แนวของขาจาน(crank arm)อยู่ในแนวเดียวกันกับแนวของท่ออาน  จะพบว่าข้อ เข่าของเราจะเหยียดเกือบสุด พูดง่ายๆว่ายังงออยู่นิดหน่อย       วิธีปรับความสูงของอานอย่างง่ายๆซึ่งบริษัทในเครือของTrekแนะนำ ได้แก่
    1. ถอดรองเท้าออก แล้วเอาส่วนของส้นเท้าวาง
      บริเวณแกนบันได
    2. ถีบบันไดลงล่าง   ให้แนวของขาจานอยู่ใน
      แนวเดียวกันกับแนวท่ออาน  ปรับความสูง
      ของอานจนกระทั่งขาข้างนั้นเหยียดตรงจน
      สุด
    3. สวมรองเท้า  เอาส่วนค่อนไปทางปลายเท้า
      เหยียบที่แกนบันไดแทน  จะพบว่าในท่า
      เดียวกันนี้ เข่าจะเหยียดเกือบสุดพอดีๆ
  •       
  • ความสูงของอานที่เตี้ยเกินไป   อาจจะทำให้มี อาการปวดในส่วนด้านหน้าหัวเข่า โดยเฉพาะการ ใช้เกียร์หนักๆ และอาจจะทำให้มีน่องใหญ่เหมือน สามล้อถีบ ในขณะที่ความสูงของอานที่มากเกินไป จะทำให้ต้องเขย่งปลายเท้าปั่น  อาจทำให้มีปัญหา ในเรื่องการเจ็บเอ็นร้อยหวาย หรือเจ็บด้านหลังของ เข่าได้
  1. ตำแหน่งอานหน้า-หลัง( fore-aft position ) และมุมก้มเงยของอาน
  2. เราอาจจะขยับอาน ให้เดินหน้าหรือถอยหลังจนได้ระยะห่างจากแฮนด์ตามที่เราต้องการได้    โดยเฉลี่ยแล้ว ตำแหน่งอานหน้า-หลังที่ทำให้การออกแรงถีบบันไดได้แรงดีที่สุด ( สำหรับจักรยานเสือ หมอบ หรือ จักรยานเสือภูเขาที่มีมุมท่ออานอยู่ในช่วง 73.5-74.5 ํ ) จะอยู่ในช่วงแคบๆ ซึ่งเราอาจจะปรับได้ดังนี้
    1. หมุนบันได  ให้แนวของขาจานทั้งสองข้าง
      ขนานกับพื้นโลก  นั่งบนอานตรงตำแหน่ง
      ที่นั่งเป็นประจำ
    2. วางเท้าเหยียบบนบันไดที่อยู่ด้านหน้าด้วย
      ส่วนที่ค่อนไปทางปลายเท้า  ( ในตำแหน่ง
      ที่ตรงกับข้อโปนของโคนนิ้วหัวแม่เท้า )
    3. เล็ง หรือ วัดสายดิ่ง( ถ้าซีเรียส ) ให้กึ่งกลาง
      ของลูกสะบ้าอยู่ในแนวดิ่งเดียวกันกับแกน
      ของบันไดข้างที่อยู่ด้านหน้า
          พร้อมๆกันนั้นก็ปรับแนวมุมก้มเงยของอานให้ได้มุมที่เหมาะสม   ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ในอานทั่วไปจะปรับให้ส่วนแนวราบของอานขนานกับพื้นโลก หากปรับอานให้เงยมาก เกินไป ก็อาจจะเกิดการกดทับ"น้องชาย"ให้เกิดอาการชา  หรืออาจจะเกิดปัญหาที่หลาย คนกลัวกันได้  แต่ถ้าหากปรับให้อานก้มเกินไป เวลาปั่นจะมีการเลื่อนไหลของก้นลงมา จากอานทำให้ต้องเกร็งท่อนเอวเอาไว้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเอวได้ง่ายๆ
  1. ความเหมาะสมของคอ (stem)
  2. จะเห็นว่า 2ข้อข้างบนนั้นแทบจะปรับอะไรตามใจเราไม่ ได้มากเลย เพราะต้องถูกบังคับตามความยาวของช่วงขา จะมีเพียงคอนี่แหละที่จะเป็นตัว ปรับให้รถเข้ากับตัวเราได้ (ปรับตัวเราไม่ได้แล้วหละ ยกเว้นจะไปเกิดใหม่)  โดยปกติถ้า รถคันนั้นพอดีกับตัวเรา ความยาวและมุมก้มเงยของคอที่ติดมากับรถนั้นก็มักจะใกล้เคียง หรือเหมาะสมกับตัวเรา แต่สำหรับคนที่มีรายละเอียดของช่วงตัวและช่วงแขนเบี่ยงเบนไป จากค่าเฉลี่ย ก็อาจจะเปลี่ยนคออันใหม่ที่มีความยาวและมุมก้มเงยที่เหมาะสมมาใช้แทน       ความยาวของคอ  จะเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในการกำหนด"ระยะเอื้อม" ระหว่างอานกับ แฮนด์ (อีกตัวหนึ่งคือ horizontal top tube length) ระยะเอื้อมที่เหมาะสมนั้น จะทำ ให้แนวหลังของผู้ขับขี่ทำมุมกับพื้นราบ 45 ํ ถ้าระยะเอื้อมมากเกินไปผู้ขับขี่จะต้องหมอบ หรือก้มหลังมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเอว หรือรู้สึกไม่ค่อยสบายรวมไป ถึงอาจจะรู้สึกเมื่อยคอมากกว่าที่ควร เพราะจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเงยหน้า เพื่อมองทาง  ดังนั้น
    • รถที่มีขนาดใหญ่เกินไปกว่าตัวผู้ขับขี่   ความยาวของhorizontal top tube และ
      คอที่ยาวเกินไป  จะทำให้มีระยะเอื้อมมากเกินกว่าที่ผู้ขับขี่จะปรับตัวให้รู้สึกสบาย
      ได้  การเปลี่ยนคอที่สั้นลงมาก็จะทำให้ระยะเอื้อมลดลงมาได้  แต่feelingในการ
      บังคับรถจะเปลี่ยนไปจากgeometryของรถแบบนั้นๆ
    • ในทางตรงกันข้ามสำหรับรถที่เล็กเกินไปกว่าตัวผู้ขับขี่  ความยาวของhorizontal
      top tubeจะสั้นลงร่วมกับคอที่สั้นลงมาอีก จะทำให้มีระยะเอื้อมน้อยเกินไป  ตัวผู้
      ขับขี่จะขี่รถในลักษณะหลังค่อนข้างตั้งและต้านลม  เมื่อต้องการจะเร่งความเร็วใน
      ขณะปั่นก็จะต้องห่อไหล่ งอศอก เพื่อให้ลู่ลมขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยไหล่
      การเปลี่ยนคอที่ยาวขึ้นจะทำให้ระยะเอื้อมเพิ่มขึ้น  แต่น้ำหนักจะไปตกที่ล้อหน้า
      มากขึ้น ทำให้รถมีอาการหน้าไวขึ้น การบังคับอาจจะไม่ง่ายนักโดยเฉพาะเวลาที่
      ปั่นลงเขา
          ส่วนมุมก้มเงยของคอ  จะมีผลต่อความสูงของแฮนด์(handle bar height) ซึ่งจะขอ กล่าวในข้อถัดไป
  3. ความสูงของแฮนด์ (handle bar height)
  4.   นอกจากระยะเอื้อมแล้ว ความสูงของแฮนด์ก็ มีบทบาทสำคัญต่อความรู้สึกสบายในการขับขี่  รวมไปถึงมีผลต่อการกระจายน้ำหนักไป ยังล้อหน้าซึ่งส่งผลไปถึงการควบคุมรถ  ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงของแฮนด์นอกเหนือจาก มุมก้มเงยของคอ ได้แก่ความยาวของชอคหน้า ความยาวของท่อคอ(head tube)(ท่อคอ จะมีความยาวเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนขนาดรถที่ใหญ่ขึ้น)   จำนวนและความหนาของแหวน รอง(spacer ring)ระหว่างชุดถ้วยคอกับคอ และ รูปร่างของแฮนด์(แฮนด์ตรง ,แฮนด์ปีก นก) รวมไปถึงมุมเอนของแฮนด์ ความสูงของแฮนด์ที่ขับขี่ได้ถูกใจนั้นจะมีความสัมพันธ์ กับความยาวของช่วงตัวและความยาวของช่วงแขนของผู้ขับขี่เช่นกัน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ ยังขึ้นกับชนิดของรถ ลักษณะและลีลาในการขับขี่ของแต่ละบุคคล       ในทางทฤษฎี(ของฝรั่งขายาว ตัวสูง)ความสูงของแฮนด์ควรจะต่ำกว่าอานประมาณ 2 ถึง 3.5นิ้ว เพียงแต่ว่าทฤษฎีนี้มาจากสัดส่วนของฝรั่งตัวสูงที่มีสัดส่วนช่วงขาและแขนโดย เฉลี่ยยาวกว่าคนไทย จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ที่จะปรับให้แฮนด์อยู่ ต่ำกว่าอานมากถึงขนาดนั้นโดยไม่ทำให้มีผลต่อการบังคับรถ และมีผลต่อตัวผู้ขับขี่เอง       ลองมาคิดดูเล่นๆ ในคนไทยที่สูง165 ซม.ซึ่งเป็นสัดส่วนสำหรับรถsize S  กับฝรั่ง ที่มีส่วนสูง 182 ซม.ซึ่งเป็นสัดส่วนสำหรับรถsize L  เมื่อจับมานั่งบนอานเพื่อเปรียบกัน ความสูงของอานรถsize L มันต้องสูงกว่าsize S วันยังค่ำ ยิ่งขายาวกว่าด้วยแล้วยิ่งสูงไป กันใหญ่ ในขณะที่ความยาวของท่อคอรถsize L ยาวกว่าsize S เพียงไม่เท่าไหร่  ท้าย สุดแล้วผลต่างระหว่าง ความสูงของอาน กับความสูงของแฮนด์ในรถsize L ก็จะแตกต่าง จากรถsize S อย่างมากมาย ดังนั้นเรื่องที่จะทำให้อานสูงกว่าแฮนด์ 3 นิ้วนั้นดูไม่ใช่จะ เป็นเรื่องยากอะไรสำหรับคนที่สูงขนาดนั้น       ลองมาหลับตาแล้วนึกภาพคนที่แขนยาวขายาวหลังสั้น นั่งขี่จักรยานในท่าที่หลังทำ มุมกับโลกประมาณ 45 ํ  เขาสามารถวางแขนวางมือจับแฮนด์ที่มีระดับต่ำกว่าอานมากๆ ได้โดยที่ไม่มีผลอะไรกับการรับน้ำหนักของไหล่ของเขานัก เพราะแขนที่ยาวกว่านั่นเอง แล้วลองหลับตามานึกถึงคนไทย ที่ขาไม่ยาวนัก หลังค่อนข้างยาว แขนที่ค่อนข้างสั้นมา นั่งลงบนรถsize S เมื่อปรับให้หลังทำมุม 45 ํ เช่นกัน  แฮนด์จะต้องถูกยกขึ้นมาหามือ เพราะว่าแขนไม่ยาวพอที่จะส่งมือไปถึงแฮนด์ ในขณะที่อานจะต้องเตี้ยลงเพราะขาที่ไม่ ยาวพอ ยังไงเสียอานมันก็ไม่มีทางสูงไปกว่าแฮนด์ได้มากมายอย่างที่ต้องการ  บางทีอาจ จะเตี้ยกว่าแฮนด์เสียด้วยซ้ำ หลายคนอาจจะทดลองกลับคว่ำคว่ำคอลง เอาspacer ring ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อจะให้แฮนด์ต่ำลงมา   ผมเองก็เคยทำให้แฮนด์ต่ำกว่า อานได้ถึง 3.5 นิ้ว เท่าทฤษฎีของฝรั่งแขนยาว(แต่เราแขนไม่ยาวเท่า) แต่ผลออกมาก็คือ ตัวของเราจะโน้มไปข้างหน้ามากขึ้นทำให้น้ำหนักของรถตกที่ล้อหน้าเพิ่มขึ้น อาจจะก้ม หลังได้มากขึ้นอีกนิดลู่ลมเพิ่มขึ้นอีกหน่อย แต่เป็นรถที่ขับขี่ยาก  น้ำหนักของรถที่เลื่อน มาลงที่ล้อหน้ามากขึ้นทำให้รถมีอาการหน้าไวมาก บังคับยาก ไหล่และแขนรับน้ำหนัก มากขึ้น ต้องเงยหน้าและเกร็งคอเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยแขนไหล่และคอ  ยิ่ง เวลาลงเขาจะน่าหวาดเสียว   อย่าลืมนะครับเสือภูเขาไม่ใช่เสือหมอบไม่ใช่จักรยานถนน รถที่แฮนด์ต่ำมากอย่างเสือหมอบนั้นเหมาะสำหรับถนนเรียบและการใช้ความเร็วสูง ผิด กับเสือภูเขาที่ใช้ได้กับทางทุกประเภทจึงต้องคิดถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย สุดท้ายแล้วผมทำให้มัน ต่ำกว่ากันเพียง 2 นิ้ว ซึ่งพบว่ารถเปลี่ยนนิสัยไปมากเลย บังคับได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังเป็นรถ ที่ขี่สนุกเช่นเดิม       ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่ง เธอเป็นเจ้าของGary Fisher รุ่นParagon'99 size XS  ซึ่ง เป็นขนาดพอดีกับความสูง158ซม.ของเธอ  รถคันนี้ให้ JudyXC '99  80mm travel เป็นชอคหน้า เมื่อปรับความสูงของอานได้ที่แล้ว ปรากฏว่าแฮนด์สูงกว่าอานเกือบ 2 นิ้ว ดูแล้วเหมือนกับBMX  แต่เมื่อเจ้าของได้นั่งปั่น ไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง มุมหลัง มุมแขน  ดู พอดีและลงตัวไปหมด       ดังนั้นอย่าไปปักใจกับทฤษฎีของฝรั่งมากนักเลยครับ สรีระที่แตกต่างกันนั้นไม่อาจ ใช้ข้อสรุปเดียวกันได้ ความสูงของแฮนด์นั้นจะขึ้นกับสรีระของร่างกายและจักรยานที่ใช้ ขอเพียงแต่คุณปรับมันให้ขับขี่สบายที่สุด สนุกที่สุดและลงตัวที่สุด  เท่านั้นก็พอแล้วครับ อย่าไปสนใจคนอื่นมาก
  5. ความกว้างของแฮนด์ (handle bar)
  6.   เหมือนอย่างที่บอกไว้แล้วว่าแฮนด์โดยทั่วไปจะมี ความกว้างเฉลี่ย 21 - 24" ในกรณีของเสือหมอบนั้นจะเลือกแฮนด์ที่มีความกว้างเท่ากับ ความกว้างของไหล่เพราะถูกบังคับด้วยท่าขี่   แต่สำหรับเสือภูเขาอยากจะขอให้คิดก่อนที่ จะหั่นแฮนด์ให้สั้นลงเหมือนกับที่หลายๆคนชอบทำกัน  แฮนด์ที่แคบจะให้ความรู้สึกที่ ดีในทางตรงและขณะใช้ความเร็วสูง  แต่แฮนด์ที่กว้างนั้นจะช่วยให้การบังคับควบคุมรถ ที่ความเร็วต่ำหรือในทางทรายได้ดีกว่า       เพราะว่าปลอกแฮนด์ของเสือภูเขามีความยาวมากพอที่เราจะเคลื่อนมือที่จับเข้าด้าน ในหรือออกด้านนอกได้ตามความเหมาะสมของสถานะการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ ผมจึงไม่ เห็นความจำเป็นที่จะต้องไปหั่นแฮนด์ให้สั้นลงจากเดิม ยกเว้นแต่ว่าคุณจะเป็นคนที่มี ความกว้างของไหล่แคบมากๆ  หรือชอบที่จะใช้เสือภูเขาปั่นความเร็วทางเรียบ มากกว่า จะเอาไปใช้ในทางoffroad (เนื่องจากสู้ราคาเสือหมอบไม่ไหว ,เสือหมอบระดับกลางๆ จะมีราคาใกล้เคียงกับเสือภูเขาคุณภาพดีๆเลยทีเดียว)
         จักรยานสำหรับผู้หญิง
    โดยเฉลี่ยแล้ว  ผู้หญิง
    • ตัวเตี้ยกว่า
    • ช่วงแขนสั้นกว่า
    • มือเล็กกว่า
    • สะโพกกว้างกว่า
    • ช่วงไหลแคบกว่าผู้ชาย
         ความแตกต่างกันทางสรีระเหล่านี้ ค่อนข้างจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับผู้หญิงในการ
เลือกและปรับแต่งจักรยานให้ลงตัว ทำให้ผู้หญิงหลายคนไม่สามารถใช้จักรยานที่มีขายในท้อง
ตลาดได้อย่างสบายนัก แต่น่าดีใจที่ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตจักรยานหลายยี่ห้อได้เอาใจผู้หญิง
มากขึ้น เช่นTrekได้ผลิตจักรยานในรุ่นWSD(Woman's Specific Design) โดยออกแบบ
รถให้มีลักษณะสอดคล้องกับสรีรของผู้หญิงมากที่สุด
    รถที่ออกแบบมาสำหรับผู้หญิงนั้น
    • จะมี ท่อบนสั้น มุมท่อคอมีความลาดเอียงมากขึ้น
    • คอจะสั้นและเชิด ร่วมกับเพิ่มความยาวของท่อคอ ( เพื่อเพิ่มความสูงของแฮนด์ )
      เป็นการชดเชยช่วงแขนที่สั้น ทำให้ผู้หญิงสามารถเอื้อมจับแฮนด์ได้สะดวกขึ้น
    • มุมท่อนั่งที่ชันขึ้น ทำให้การถีบบันไดสะดวกขึ้น
    • ทำปลอกแฮนด์บาง เพื่อให้สามารถกำได้สะดวก
    • ลดความกว้างของแฮนด์ลงมาเพื่อรับกับช่วงไหล่ที่แคบ
    • ให้เบาะที่กว้างและนุ่มเพื่อสะโพกที่กว้าง เป็นต้น

    ข้อสรุปง่ายๆ
  • ถ้าคุณเลือกรถได้ถูกขนาดกับตัวคุณเอง อะไรๆมันก็จะง่ายไปหมด   หลักการเรื่องระยะ
    ปลอดภัยยังคงใช้ได้เสมอ เพราะผู้ผลิตเสือภูเขาจะเล็งเรื่องความปลอดภัยไว้เป็นพื้นฐาน
    หลักของการออกแบบรถเสมอ ( ยกเว้นกรณีที่ช่วงขาของคุณสั้นมาก หรือยาวมากผิดกับ
    คนอื่นเขา )

  • ถ้าต้องเลือกระหว่างรถที่เล็กกว่าคุณไปนิดกับใหญ่กว่าคุณไปหน่อย ผมมีข้อแนะนำอยู่
    2 ข้อ คือ
    • หายี่ห้อใหม่ที่มีขนาดพอดีกับตัวเราโดยไม่ต้องคร่อมsize หรือ
    • ถ้าตัดใจจากยี่ห้อนั้นไม่ได้ ให้เลือกคันที่เล็กกว่าด้วยเหตุผลที่บอกไว้แล้ว  แล้ว
      ปรับเปลี่ยนคอ หรือปรับความสูงของแฮนด์ให้พอดีกับตัวของเรา

  • อย่ายึดติดกับทฤษฎีของฝรั่งมากนัก พื้นฐานของร่างกายที่แตกต่างกันนั้น ทำให้อะไร
    ต่อมิอะไรมันไม่ค่อยจะคล้ายกันเท่าที่เราคิดว่ามันเป็น
ที่มา http://www.bikeloves.com/trick/trick02.shtml