Contact

เก็บเรื่องราวเอามาแบ่งปัน คุยกันแบบกันเอง Contact me: thoshiro @live.com or thoshiro007 @gmail.com

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำแนะนำสำหรับการฝึกปั่นจักรยาน

คำแนะนำสำหรับการฝึกปั่นจักรยาน

จักรยานของคุณมีกี่เกียร์ลืมไปก่อนเลย ใช้เกียร์ที่แนะนำให้ไปก่อน อย่าเพิ่งเล่นเกียร์

เวลาขี่ให้หลังตรงอยู่เสมอ แล้วโน้มตัวไปหาแฮนด์ด้วยการใช้สะโพกเป็นจุดหมุน อย่าให้หลังค่อม

ดื่มน้ำทุก 15 นาที น้ำหนึ่งกระติก (เล็ก) ควรจะหมดในเวลาหนึ่งชั่วโมง

เพื่อป้องกันอาการเดินขาถ่าง ถ้าหาวาสลินได้สะดวก ก็จัดการทาให้ทั่วขาหนีบ แล้วค่อยใส่กางเกง


บทเรียนที่1
ใช้ นาฬิกาตั้งเวลาไว้15นาที แล้วก็ขี่จักรยานออกไปเรื่อยๆ ครบ15นาทีตรงไหนก็ขี่กลับเส้นทางเดิม ถ้าไม่แวะไปที่ไหนก็จะใช้เวลาขี่ราวๆครึ่งชั่วโมงพอดี เราจะใช้เวลาบนจักรยานวันละครึ่งชั่วโมงนี้ประมาณ 4-6 วันติดๆกันเลยก็ดี แต่หลังจากหมด 4-6 วันแรกนี้แล้วขอบังคับให้หยุดขี่ เอาโซ่ล่ามจักรยานไว้เลย 1-2 วันเพื่อเป็นการพักร่างกาย

หลักการปั่นจักรยาน
ตาม สูตรที่ฝึกต้องซอยขากันเร็ว 80 รอบ/นาที วิธีหัดก็คือขี่จักรยานด้วยเกียร์ต่ำ (ออกแรงขาน้อย แต่จักรยานไม่ค่อยวิ่ง ถ้าจักรยานของคุณมีเลขบอกเกียร์ที่มือสับเกียร์ ก็ลองปรับให้มือสับข้างซ้ายอยู่เลข 2 มือสับข้างขวาอยู่เลข 3) ขี่จักรยานด้วยความเร็วพอสมควร แล้วเริ่มจับเวลา (ด้วยนาฬิกาข้อมือ, มาตรวัดความเร็วที่ติดจักรยาน)

ใช้หัวเข่าขวาเป็นหลัก ทุกครั้งที่เข่าขวาขึ้นมาสุดก็ให้นับ 1 ขึ้นมาสุดอีกครั้งนับ2 ไปเรื่อยๆ จนครบ 15 วินาที นับได้กี่ครั้งก็คูณด้วย 4 จะได้จำนวนครั้งต่อนาทีที่ขาเราปั่นจักรยาน ดูว่าถ้าเกิน 80 ก็ชะลอขาลงหน่อยแล้วก็นับใหม่อีก 15 วินาที หรือน้อยกว่า80ก็ซอยขาปั่นเร็วขึ้นอีกหน่อยแล้วก็นับใหม่อีก 15 วินาที ลองจนกว่าจะนับเข่าขวาขึ้นมาสุดได้ 20 ครั้งใน 15 วินาที(ก็เท่ากับ 80 รอบต่อนาที) ก็ให้ปั่นด้วยความเร็วคงที่ขนาดนั้นไปให้ตลอดโดยไม่มีการเปลี่ยนเกียร์ ถ้าใครไม่มีมาตรวัดความเร็วติดจักรยานก็คอยเช็คด้วยการจับเวลานับหัวเข่า อยู่เรื่อยด้วย เพราะหัดปั่นขาเร็วขนาดนี้สำหรับคนไม่เคยจะบอกกันเป็นเสียงเดียวว่า “เหนื่อยจัง” แล้วก็จะผ่อนความเร็วลงไปเพราะความไม่ชิน(ซึ่งเป็นกันทุกคน โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์แรกนี้) แต่เชื่อไหมว่าคนที่ใช้หลักสูตรนี่ เดี๋ยวนี้ปั่นกันเป็นปรกติที่ 85-90 รอบต่อนาทีกันทุกคน โดยไม่มีใครบ่นว่าเหนื่อยหรือเร็วไปซักคนเลย ขอให้ตั้งใจทำความเคยชินกับการซอยขาที่ 80 รอบต่อนาทีนี้ให้ได้นะเพราะสำคัญมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าตั้งใจก็จะคุ้นเคยในเวลาแค่ไม่เกินสัปดาห์ ขาเราก็จะเคยชินกลายเป็นความจำโดยอัตโนมัติ คราวนี้แทบไม่ต้องนับหัวเข่ากันเลย

การปฏิบัติบทเรียนที่1
1.เลือก ใช้เกียร์ให้ถูกต้อง(มือสับเกียร์ข้างซ้ายเลข2-จานกลาง/มือสับเกียร์ข้างขวา เลข2หรือ3) แล้วก็ใช้เกียร์นั้นไปตลอดโดยไม่มีการเปลี่ยนเกียร์

2.ปั่น ขาที่80รอบต่อนาทีให้ตลอดเวลา โดยไม่มีการฟรี หรือ หยุดรถ(ถ้าไม่จำเป็น)จนกว่าจะครบเวลา (ในสัปดาห์แรกนี้ก็คือครึ่งชั่วโมง) หัดปั่นในทางราบ ไม่มีเนินเขา จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ สามารถปั่นขาที่ความเร็วคงที่,ออกแรงได้คงที่ ได้ตลอดเวลา ออกไปฝึกปั่นแต่ละครั้งอย่าใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมงสำหรับสัปดาห์แรกนี้ ถ้าระบมเดี๋ยวจะฝึกขี่กันได้ไม่ต่อเนื่อง
ให้เวลาในการฝึกช่วงแรกนี้ 4-6 วัน ถ้าสามารถฝึกติดต่อกันได้ทุกวันจะทำให้ร่างกายชินกับจักรยานได้เร็วขึ้น จากนั้นพักการฝึก 1-2 วันโดยไม่มีการขึ้นขี่จักรยานเลย เป็นการจบการฝึกในช่วงแรก

3.สัปดาห์ที่สองใช้เกียร์เดิม ปั่นขาที่ 80 รอบ/นาทีเท่าเดิม แต่เพิ่มเวลาในการขี่เป็นวันละไม่เกิน 1 ชม.(อย่าน้อยกว่า 45 นาที คงจะเจียดเวลาได้) ฝึก 4-6 วันเหมือนเดิม แล้วก็หยุดพัก 1-2 วัน เป็นอันจบบทเรียนที่หนึ่ง

บทเรียนที่2
ผ่าน การฝึกมา 2 ยกแล้ว ถึงตอนนี้ร่างกายของแต่ละคนก็ควรจะชินกับท่าทางในการปั่นจักรยานกันแล้ว ระบบการทำงานต่างๆในร่างกายก็ควรจะดีขึ้นด้วย กล้ามเนื้อขาที่ใช้ในการปั่นขาจาน(หรือถีบลูกบันได)ก็ได้รับการโปรแกรมให้ ปั่นที่ความเร็วรอบสูงแล้ว คราวนี้เรามาเริ่มออกกำลังกันจริงๆล่ะ ที่ผ่านมาสองสัปดาห์นั่นแค่อุ่นเครื่องเท่านั้นเอง

หัดใช้เกียร์
ผ่าน โปรแกรมฝึกแล้วคราวนี้เล่นไม่ยาก เพราะขาเราจะชินกับการปั่นที่ 80 รอบ/นาทีกันแล้ว ก็ยึดรอบขานี้ไว้เป็นหลัก ไม่ว่าเราจะอยู่ที่เกียร์ไหน-ความเร็วเท่าไร ก็ให้รักษารอบการปั่นไว้เท่านี้เสมอ

แล้วจะใช้ยังไงบ้าง? ก็ต้องมาทำความเข้าใจกับการทำงานของอุปกรณ์ติดจักรยานของเรากันก่อน มาดูกันที่มือสับเกียร์ทั้งข้างซ้ายและขวา ตัวเลขน้อยคือเกียร์ที่ใช้กับความเร็วต่ำ(แต่ใช้แรงน้อย) ตัวเลขมากใช้กับความเร็วสูง(แต่ต้องออกแรงมาก) มือสับข้างขวาจะใช้ในการเปลี่ยนแนวโซ่ไปยังเฟืองขนาดต่างๆที่ล้อหลัง เฟืองเล็กคือเกียร์สูง(ตัวเลขมาก-ต้องออกแรงมาก) เฟืองใหญ่คือเกียร์ต่ำ(ตัวเลขน้อย-ออกแรงน้อย) การเปลี่ยนเกียร์ด้วยมือขวานี้จะให้ความเร็วในแต่ละเกียร์ไม่กระโดดต่างกัน มาก ซึ่งการเปลี่ยนเกียร์ในการขับขี่โดยทั่วไปแล้วเราจะใช้มือขวานี้เป็นหลัก

มือเกียร์ขวา
เรา จะเปลี่ยนเกียร์ด้วยมือขวาตามความเร็วของจักรยาน เช่น จากหยุดอยู่กับที่เริ่มออกตัวก็ควรจะใช้เกียร์1 พอขี่ไปหน่อยเริ่มมีความเร็วก็เปลี่ยนเป็นเกียร์2 เร็วขึ้นอีกก็เปลี่ยนเป็นเกียร์3 ไปเรื่อยๆ เวลาลดความเร็วลงมาก็ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงมาด้วยเช่นกัน จนรถหยุดก็จะอยู่ที่เกียร์1 เหมือนตอนเริ่มต้นขี่ แต่เวลาใช้งานจริงๆแล้วเกียร์หนึ่งนี่จะเบามากเกินไป เรามักจะเริ่มออกรถกันที่เกียร์สอง หรือ สาม กันมากกว่า

เรื่องที่ ต้องจำตรงนี้คือระบบเกียร์ของจักรยานส่วนใหญ่จะทำงานต่อเมื่อมีการขับโซ่ให้ หมุนไปข้างหน้าเท่านั้น เวลาชะลอความเร็วแล้วต้องเปลี่ยนมาเป็นเกียร์ต่ำก็ให้ปั่นบันไดเดินหน้าไป ด้วย

มือเกียร์ซ้าย
มือสับเกียร์ข้างซ้ายจะเปลี่ยนแนวโซ่ไปยังจาน โซ่ซึ่งมี 3 ขนาด เล็ก-กลาง-ใหญ่ จากขนาดที่ต่างกันมากนี้ทำให้ความเร็วของแต่ละเกียร์ต่างกันมากด้วย การที่จะเลือกใช้จานโซ่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นทางที่เราจะไป เช่น
จานเล็ก(เกียร์หมายเลข 1) ใช้ในทางที่ไปได้ด้วยความเร็วต่ำแต่ต้องการกำลังมากๆ ช่วงขึ้นเขา หรือ ลุยโคลนลึกๆ

จานใบกลาง(เกียร์หมายเลข2) สภาพ ทั่วๆไปเราก็จะใช้ เป็นหลัก

จานใหญ่(เกียร์หมายเลข3) ใช้ช่วงที่ต้องการความเร็วสูง เช่น ตอนลงเขา และสำหรับทางในป่า

ถ้า ใครใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ ก็ให้นึกง่ายๆว่าจานเล็กสุดก็คือเกียร์ 4L จานกลางก็คือเกียร์ 4H หรือ Full Time 4WD ส่วนจานใบใหญ่ก็คือเกียร์ 2H นั่นแหละค่ะ ใช้เหมือนกันเลยทีเดียวแหละ

การปฏิบัติบทเรียนที่2
เริ่มด้วยการใช้จานโซ่ขนาดกลาง (มือสับเกียร์ข้างซ้ายชี้เลข2) มือสับข้างขวาชี้เลข2เช่นกัน เราจะใช้แต่เกียร์ที่มือขวาเท่านั้น

มือสับเกียร์ข้างซ้ายปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นไม่ต้องไปยุ่งอะไร

ออก รถปั่นไปจนกว่าขาจะซอยอยู่ที่ 80 รอบ/นาทีหรือมากกว่า แล้วเปลี่ยนเกียร์ที่มือขวาเป็นเกียร์3 รอบขาของเราจะตกลงมาต่ำกว่า 80 รอบต่อนาที เร่งซอยขาจนได้ 80 รอบ/นาทีหรือมากกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นเกียร์4 รอบขาจะต่ำกว่า 80 รอบอีกแล้ว เร่งซอยขาจนได้ 80 รอบต่อนาทีหรือมากกว่า แล้วเปลี่ยนเป็นเกียร์5 พยายามซอยขาขึ้นมาที่ 80 รอบ/นาทีอีก แล้วคงความเร็วขนาดนั้นไว้ซักพัก ถึงตรงนี้คุณจะมีทางเลือก 3 ทาง

1. คุณยังมีแรงเหลือเฟือแล้วก็อยากไปเร็วขึ้นอีก ก็เปลี่ยนเป็นเกียร์สูงขึ้นได้เรื่อยๆ

2. คุณอยากปั่นด้วยความเร็วขนาดนี้แหละ ก็รักษารอบขาไว้ประมาณนี้

3. คุณรู้สึกเหนื่อยและต้องออกแรงที่ขามาก ก็ให้ลดเกียร์ต่ำลงมาหนึ่งเกียร์ และพยายามคงรอบขาไว้แถวๆ 80 รอบ/นาที

ใช้ วิธีซอยขาให้ได้ประมาณ 80-90 รอบ/นาทีนี้ แล้วถามความรู้สึกของขาคุณเองว่าเกียร์ที่ใช้อยู่นั้นหนักไป(ใช้เกียร์สูง ไป) หรือ เบาไป(ใช้เกียร์ต่ำไป) แล้วก็เปลี่ยนเกียร์ขึ้นหรือลงทีละ 1 เกียร์ให้พอดีกับแรงขา
ดื่มน้ำทุก 10-15 นาที พอ1/2 ชม.ก็จอดพักซักหน่อย แล้วก็เริ่มปั่นกลับบ้าน

การ ฝึกในช่วงสัปดาห์ที่3นี้ พยายามใช้เวลาให้ได้ 60-90 นาที/วัน ครบ 4-6 วันแล้วก็อย่าลืมพักเต็มๆอีกวันก่อนการฝึกในช่วงที่4ด้วย ฝึกความชำนาญในการเปลี่ยนเกียร์ด้วยมือขวานี้ให้คล่องในทุกๆเกียร์

คำแนะนำสำหรับการหัดใช้เกียร์

มือสับเกียร์ข้างซ้ายอย่าเพิ่งไปเล่น ใช้สมาธิกับการใช้เกียร์ที่มือขวาก็พอแล้ว

พยายาม ใช้ให้หมดทุกเกียร์(มือขวา) จับความสัมพันธ์ของเกียร์กับความเร็วในแต่ละเกียร์ และกับแรงที่ต้องใช้ รักษารอบขาให้อยู่ในช่วง 80-90 รอบ/นาทีตลอดการฝึก

จะเลือกใช้เกียร์ไหนก็ให้ถามขาของคุณเอง ว่าเบาไป หรือ หนักไป
เวลาเปลี่ยนเกียร์ทุกครั้งให้ผ่อนแรงถีบบันไดลง แต่อย่าหยุดปั่น จะทำให้การเปลี่ยนเกียร์นุ่มนวลขึ้น

อย่าเพิ่งขึ้นเขา รอให้ฝึกสำเร็จก่อน

บทเรียนที่3
เรา มาลองใช้มือสับเกียร์ข้างซ้ายกันบ้าง ขาของแต่ละคนก็น่าจะมีแรงพอจะปั่นด้วยจานโซ่ใบใหญ่สุดได้สบายๆ ช่วงนี้เราจะค่อนข้างฟรีสไตล์ ขอให้คุณๆทำความรู้จักกับจักรยานเสือภูเขาของคุณให้ได้มากที่สุด เวลาในการขี่ในแต่ละวันไม่จำกัด ขออย่าน้อยกว่า 90 นาทีเป็นใช้ได้

การปฏิบัติบทเรียนที่3

ปั่น จักรยานด้วยความเร็วพอสมควรในเกียร์ 3 หรือ 4 แล้วใช้มือซ้ายเปลี่ยนเกียร์จาก 2 ไป 3 ผ่อนแรงถีบบันไดเล็กน้อย สังเกตดูรอบขาด้วยนะคะว่าตกมาเยอะแค่ไหน ลองซอยขาขึ้นไปที่ 80-90 รอบ/นาทีลองเปลี่ยนเกียร์ที่มือขวาให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ออกแรงปั่นเยอะหน่อย ดูว่าที่เกียร์สูงสุดนั้นคุณจะยังปั่นขาที่ 80 รอบ/นาทีได้มัย ?

ถ้า ได้-นานแค่ไหน ? ก่อนจะหมดแรง ลองเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำดูบ้าง เปลี่ยนเกียร์ไปที่เลข1 ทั้งสองข้าง ชะลอความเร็วลงมาจนเกือบหยุด ลองปั่นขาดู ลองเกียร์ให้ครบทุกตำแหน่งว่ารู้สึกอะไรบ้าง การเปลี่ยนเกียร์ยาก-ง่ายแค่ไหน? การออกแรงขาเป็นอย่างไร? เลี่ยงภูเขา ดื่มน้ำ พักผ่อน เหมือนที่เคยฝึกกันมา

เมื่อจบช่วงที่สี่นี้ก็เท่า กับว่าคุณๆทั้งหลายได้ปูพื้นฐานที่ดีสำหรับการเป็นนักเล่นจักรยานเสือภูเขา อย่างเต็มตัวแล้วนะคะ คุณๆจะมีทักษะและกำลังขาในการปั่นจักรยานไปไหนๆได้สบาย ใครที่ติดมาตรวัดระยะทางไว้ด้วยก็ลองดูซิคะว่าคุณใช้ระยะทางไปทั้งหมดเท่า ไหร่ในการปูพื้นฐานให้ขาของคุณ และหลายๆคนที่ฝึกแบบเต็มที่ส่วนใหญ่จะได้ระยะทางมากกว่า 1,000กม. ในเวลาแค่เดือนเดียว! อย่าลืมว่าการฝึกขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญมากในการก้าวขึ้นไปสู่ขั้นที่ สูงขึ้น อย่างใครที่เคยเรียนเทนนิสอย่างถูกต้องก็คงจำได้นะคะว่าต้องรำไม้เปล่าๆกัน อยู่ตั้งหลายนานกว่าจะได้ลงตีลูกจริงๆ หรืออย่างนักกอล์ฟก็ต้องหมั่นซ้อมวงสวิงกันอยู่ตลอด เพราะพื้นฐานที่ถูกต้องเหล่านี้แหละที่จะนำเราไปสู่การพัฒนาระดับฝีมือที่ สูงขึ้นค่ะ แต่ละอาทิตย์ถ้าไม่มีเวลาที่จะขี่จักรยานกันได้ทุกวัน ก็ขอให้ใช้วันหยุดของคุณไปในการปั่นจักรยานไกลๆ (มากกว่า 60กม.) ซักวัน เพื่อรักษาสภาพความพร้อมของร่างกายไว้ให้ได้มากที่สุด

ทำไมต้องซอยขาที่ 80 รตน.หรือมากกว่า ? เหตุผลมีหลายอย่าง

1.เพราะ ต้องการให้หัวเข่าปลอดภัยจากอาการบาดเจ็บ อย่าลืมว่าต้องปรับตำแหน่งและความสูงของเบาะให้ถูกต้องด้วยนะคะ เพราะถ้าหากปรับเบาะไม่ถูกต้องแล้ว การซอยขาเร็วก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก การปั่นซอยขาได้เร็วเป็นตัวชี้ว่าขาเราออกแรงไม่มากจนเกินไป แรงกดที่กระทำต่อกระดูกหัวเข่าชิ้นต่างๆจึงไม่มากนักด้วย การสึกหรอก็น้อยตาม และจากการตั้งตำแหน่งเบาะที่ถูกต้องกับรอบขาที่สูงโดยที่แรงกดไม่มากนี้จะทำ ให้ชิ้นส่วนต่างๆของหัวเข่าได้ขัดถูกันอย่างดี การเคลื่อนไหวของหัวเข่าก็จะราบลื่นตามไปด้วย

2.ลดหรือเลี่ยงอาการ บาดเจ็บ หรืออาการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นของขา จากเหตุที่ว่าขาเราไม่ต้องออกแรงมากไงคะ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั้งหลายก็พลอยสบายไปด้วย ผลพลอยได้จากการที่กล้ามเนื้อไม่ต้องออกแรงเค้นมาก และการซอยขาที่สม่ำเสมอไม่มีการกระแทกกระทั้นเหมือนกีฬาอย่างอื่น ทำให้กล้ามเนื้อขาของนักจักรยานที่ฝึกตามสูตรนี้มีรูปทรงที่สวย ไม่ปูดโปนอย่างนักฟุตบอลหรือนักวิ่งแน่นอนค่ะ(สาวๆทั้งหลายสบายใจได้)

3.มา จากห้องวิจัยด้านกีฬา(ของฝรั่ง)ว่า การซอยขาปั่นจักรยานที่ 80-90 รตน.นี้เป็นช่วงที่เราได้ประสิทธิภาพโดยรวมจากร่างกามากที่สุด คือได้กำลังจากขามากแต่ขณะเดียวกันก็ใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อน้อย และการขจัดกรดแลคติคที่เป็นของเสียจากการออกกำลังของกล้ามเนื้อก็มีอัตราที่ สูง พูดง่ายๆว่าถ้าให้ใครซักคนทานอาหารที่ปริมาณเท่าๆกันแล้วปั่นจักรยาน การใช้รอบขา 80-90 รตน.นี้จะไปได้ไกลที่สุดก่อนจะหมดแรงหรือล้าจนปั่นไม่ไหว เมื่อเทียบกับการที่ใช้รอบขามากหรือน้อยกว่า

4.มาจากห้องแล็บ คือว่าการปั่นขาที่ 80-90 รตน.นี้จะสามารถเร่งความเร็วขาขึ้นไปที่รอบสูงได้ดีกว่าการปั่นขาที่รอบต่ำ กว่านี้ และสามารถส่งต่อเกียร์ที่สูงขึ้นได้ดีกว่า พูดง่ายๆว่าเร่งแซงได้เร็วขึ้นกว่าการปั่นขาที่รอบต่ำ ถ้าเทียบเป็นรถยนต์ก็ลองดูสิคะว่าจากความเร็ว 60 กม./ชม.ขึ้นไปที่ความเร็ว 100 กม./ชม.นั้น ถ้าใช้เกียร์สี่จะกินเวลาเท่าไหร่? แล้วลองใช้เกียร์สามที่ต้องใช้รอบสูงขึ้นจะใช้เวลาน้อยลงแค่ไหน พอจะเห็นภาพกันหรือเปล่าคะ?

5.เป็นการถนอมระบบขับเคลื่อนของจักรยาน คันเก่งของเราให้ทนขึ้น ซึ่งก็คล้ายกับเหตุผลข้อแรกนั่นแหละค่ะแต่มาประยุกต์ใช้กับจักรยานแทน แค่ห้าข้อนี่ก็น่าจะจูงใจให้มาหัด “ซอยยิกๆ” กันบ้างแล้วนะคะ
ทำไมต้อง ดื่มน้ำเยอะ?กีฬาจักรยานเป็นกีฬาที่มีอะไรแปลกๆหลายอย่าง คือเรื่องดื่มน้ำนี่แหละ คนที่ขี่จักรยานส่วนใหญ่ถ้าแดดไม่ร้อน หรือขี่อยู่แค่ใกล้ๆก็จะไม่ค่อยนึกถึงเรื่องกระหายน้ำกัน เหตุก็เพราะขณะที่เราขี่จักรยานฝ่าอากาศไปนั้น ลมที่มาปะทะตัวเราจะพาเหงื่อให้ระเหยไปอย่างรวดเร็ว เราจึงไม่รู้สึกร้อน แล้วก็พลอยไม่กระหายน้ำไปด้วย ไม่เหมือนกีฬาอย่างอื่นที่เล่นอยู่กับที่และการเคลื่อนที่ผ่านอากาศก็ไม่ต่อ เนื่องเช่น เทนนิส บาสเกตบอล ฯลฯ ที่พอหยุดเคลื่อนไหวแล้วจะรู้สึกร้อนวูบขึ้นมาทันที ก็เลยต้องหาน้ำดื่มคลายร้อนกันโดยอัตโนมัติ แต่อย่าลืมว่าขณะที่เราออกแรงปั่นจักรยาน ร่างกายก็ต้องเกิดความร้อนขึ้นเช่นกัน แล้วความร้อนนี้ก็ถูกควบคุมโดยน้ำในร่างกายที่ออกมาเป็นเหงื่อ เราจึงต้องทดแทนน้ำส่วนที่เป็นเหงื่อนี้ด้วยการดื่มน้ำเพิ่มเข้าไปเช่นกัน ไม่เช่นนั้นหากเสียน้ำในรูปของเหงื่อหรือปัสสาวะมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย ได้ ดังนั้นจึงควรฝึกดื่มน้ำในขณะขี่จักรยานให้เยอะๆไว้จนเป็นนิสัย

ทำไม ต้องมีวันหยุดพัก,ฝึกปั่นทุกวันไม่ได้หรือ? ก็มีหลายเหตุผลอีกแหละค่ะ หนึ่งคือเพื่อเป็นการปรับร่างกายให้เคยชินกับการฝึก จากการทดลองของฝรั่งเค้าพบว่า ถ้าตะบี้ตะบันฝึกทุกวันแล้ว อัตราการก้าวหน้าในการปรับตัวของร่างกายจะไม่ค่อยดี สู้ฝึกๆหยุดๆไม่ได้ ซึ่งจากการทดลองก็เลยพบเหตุที่สองคือสภาพที่เรียกว่า “โอเวอร์เทรนนิ่ง” (Overstraining) คือ อาการโทรมจากการฝึกซ้อมมากเกินไปสภาพนี้จะทำให้ประสิทธิภาพของร่างกายตกต่ำ ลงอีกต่างหาก และอาจเกิดอันตรายด้วยหากยังดันทุรังฝึกหนักต่อไป ไว้จะมาแจงรายละเอียดกันเมื่อมีโอกาสหรืออาจต้องขอความรู้จากนักวิชาการตัว จริงให้มาช่วยวิสัชนากันหน่อย

ผมเล่นจักรยานมานานแล้ว จำเป็นที่จะต้องมาเริ่มโปรแกรมปั่นพื้นฐานของมือใหม่นี้ด้วยหรือเปล่า?

โปรแกรม นี้มีจุดประสงค์ที่จะปูพื้นฐานที่ถูกต้องให้กับผู้ที่รักจะเล่นจักรยาน(ทุก ชนิด)ในแบบที่ถูกต้อง ก็ลองถามตัวคุณเองดูนะคะว่าคุณได้เริ่มต้นเล่นจักรยานมาอย่างถูกต้องหรือ เปล่า? โดยการดูว่า 1) ร่างกายของคุณปรับตัวเข้ากับจักรยานได้ดีหรือไม่? 2) ในการขี่จักรยานโดยปรกติคุณใช้รอบขาสูง 80-90 รตน.หรือไม่? 3) คุณใช้เกียร์ได้คล่องและถูกต้องหรือไม่? ถ้าคุณตอบ “ไม่ ” ตั้งแต่หนึ่งข้อขึ้นไปแล้วคุณอยากจะเล่นจักรยานให้ได้ดีไม่มีการบาดเจ็บจาก การออกกำลัง ก็คิดว่าคุ้มค่าที่คุณจะมาเริ่มฝึกใหม่ตามโปรแกรม
ขณะฝึกตาม โปรแกรม จะหยุดพักได้บ่อยแค่ไหน? หยุดพักได้เมื่อคุณขี่ได้ครึ่งหนึ่งของเวลาที่คุณตั้งใจจะขี่ค่ะ อย่างเช่นถ้าคุณอยู่ในช่วงแรกของบทเรียนที่หนึ่ง คุณก็จะหยุดพักได้เมื่อขี่ไปแล้ว 15 นาที แต่ในขณะที่ปั่นอยู่ใน15นาทีนั้น อย่าหยุดปั่นขาบ่อยหรือไม่ควรหยุดปั่นขาเลย (ยกเว้นในจุดที่ต้องชะลอความเร็ว เช่น ตามทางแยก หรือ ต้องเหล่หนุ่ม-เหล่สาว ฯลฯ) เพราะการซอยขาตลอดเวลาจะทำให้กล้ามเนื้อขาของเรา “จำ” การซอยขาที่ 80 รตน.นี้ได้เร็วขึ้น และทำให้ระบบการหายใจ, การเผาผลาญอาหาร ฯลฯ ของร่างกายทำงานได้คงที่ด้วยซึ่งจะเป็นผลดีต่อร่างกายของเราเองค่ะ แต่ทุกอย่างย่อมมีข้อยกเว้นเสมอ ดังนั้น จงหยุดพักได้บ่อยเท่าที่คุณอยากจะพักนั่นแหละค่ะ ไม่มีใครจะรู้ดีไปกว่าตัวคุณเองหรอก

ที่มา http://thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=60&t=342295

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คดีพิศวง ตอน ใครฆ่าดาบยิ้ม ไอ้ปื๊ด ????

ด.ต.สุวิชัย รอดวิมุต หรือ “ดาบยิ้ม” ตำรวจกองปราบปราม ถูกยิงด้วยอาวุธปืน 6.35 มม.เสียชีวิตภายในคลับทเวนตี้ ผับ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถ.รัชดาภิเษก เมื่อกลางดึกของวันที่ 29 ต.ค.2544
      
       “คดีฆ่าดาบยิ้ม” ถือเป็นคดีสะเทือนขวัญที่ถูกสังคมจับจ้องมากที่สุดในขณะนั้น เพราะผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ และตกเป็นผู้ต้องหาลั่นไกฆ่า คือ “ดวงเฉลิม อยู่บำรุง” ลูกชายคนเล็กของ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” นักการเมืองคนดังย่านฝั่งธน หลังเกิดเหตุ “ดวงเฉลิม” หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย แม้ตำรวจจะระดมกำลังเข้าตรวจค้นบ้านพักย่านบางบอน และบ้านนักการเมืองท้องถิ่น ที่คาดว่า “ดวงเฉลิม” จะไปหลบกบดานอยู่หลายรอบแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่พบแม้แต่เงา
      
       แต่ด้วยพฤติการณ์หลบหนี และภาพลักษณ์ของ “ครอบครัวอยู่บำรุง” ในขณะนั้น ทำให้ “ดวงเฉลิม” ตกเป็นจำเลยของสังคมอย่างปฏิเสธไม่ได้ ขณะเดียวกัน คะแนนความสงสารถูกเทไปให้กับ นางสุพัตรา และ ด.ช.กิติศักดิ์ รอดวิมุต ภรรยาหม้าย และลูกชายดาบยิ้ม ซึ่งต้องขาดเสาหลักของครอบครัว
      
       ฝ่าย “ยอดคุณพ่อ” อย่าง ร.ต.อ.เฉลิม ก็ออกหน้าปกป้องลูกชายแบบเต็มตัว ทั้งยืนยันนั่งยันและนอนยันทุกวันว่า “ดวงเฉลิม” ไม่ได้หนีไปไหนแค่หลบไปตั้งตัวเพราะกลัวจะไม่ปลอดภัย ส่วนคนที่ยิงดาบยิ้มตาย คือ “ไอ้ปื๊ด” คนสนิทผู้ติดตามลูกชาย แต่พนักงานสอบสวนกลับไม่ได้ให้ความสนใจนำมาเป็นสาระสำคัญของคดี
      
       “ดวงเฉลิม” หายตัวไปกว่าครึ่งปีก่อนจะไปโผล่เข้ามอบตัวที่สถานทูตไทยในมาเลเซีย เมื่อเช้าวันที่ 2 พ.ค.2545 ก่อนถูกส่งตัวกลับมาดำเนินคดี ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ตั้งข้อหา “ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา แต่ไม่มีการตั้งข้อหาร่วมกันฆ่าเจ้าพนักงาน” ทำให้พนักงานสอบสวนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนในวงการตำรวจด้วยกันมากพอสมควร หลังจากนั้น พนักงานอัยการก็ส่งฟ้อง “ดวงเฉลิม” กับพวกอีก 2 คน ประกอบด้วยนายกฤษพัฒน์ จาตุรานนท์ และนายสุพจน์ แสงอนันต์ เป็นจำเลยต่อศาลอาญา ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น และร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ส่วนนายวันเฉลิม อยู่บำรุง พี่ชายคนกลาง และพ.ต.ต.ศราวุฒิ สกุลมีฤทธิ์ อดีตสารวัตร 191 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยใช้กำลังประทุษร้าย และช่วยเหลือให้ผู้กระทำผิดมิให้ถูกจับกุม
      
       ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม ก็ไม่ยอมละความพยายามง่ายๆ นำตัว “ไอ้ปื๊ด” หรือนายเฉลิมชนม์ บุริสมัย เข้ามอบตัวอีกรอบ แต่ก็ถูกเมินอีกตามเคย เนื่องจากในทางการสืบสวนของตำรวจขณะนั้น เห็นว่า “ไอ้ปื๊ด” ไม่ใช่ผู้เกี่ยวข้องกับคดี
      
       ต่อมาคดี “ฆ่าดาบยิ้ม” ก็เข้าสู่กระบวนการในชั้นศาล โดยเริ่มสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2545 โดยพนักงานอัยการนำนางสุพัตรา ขึ้นเบิกความเป็นพยานโจทก์ปากแรก ต่อด้วยพยานสำคัญอีกหลายปากไม่ว่าจะเป็น พ.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง รอง ผกก.1 ป. ,ร.ต.อ.วิวัฒน์ บุญชัยศรี รอง สว.ผ.5 กก.2 ป., ส.ต.ต.ทศพล อ่อนพันธุ์ ตำรวจประจำกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (191), น.ส.นฤมล วงศ์เสือ, นายสมภพ สุภิษะ, น.ส.ทิฐินันท์ ฤทธิวัฒนะพงศ์ ซึ่งล้วนแต่อยู่ในคลับทเวนตี้ ผับ ขณะเกิดเหตุ ทำให้ผู้สันทัดกรณีในวงการกฎหมายหลายคนเชื่อกันว่างานนี้ “ดวงเฉลิม” รอดยาก
      
       ส่วนแนวทางการการต่อสู้คดีของทีมทนายความจำเลย ที่นำโดยทนายมือดี “สมหมาย กู้ทรัพย์” มุ่งนำสืบพยานพุ่งเป้าไปที่ประเด็นแสงไฟในคลับทเวนตี้ คืนเกิดเหตุ เพื่อชี้ให้ศาลเห็นว่าพยานโจทก์ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ดวงเฉลิม” เป็นผู้ลั่นไกยิงดาบยิ้ม นอกจากนี้ยังมีพยานปากสำคัญอย่าง พล.ต.ต.วิชิต สมาธิวัฒน์ ผบก.นต.แพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ เบิกความหักล้างพยานโจทก์ในประเด็นวิถีกระสุน เนื่องจากบาดแผลจากหน้าผากด้านขวา ลงไปทะลุท้ายทอยด้านซ้าย เป็นไปได้ยากที่ “ดวงเฉลิม” จะยืนประจันหน้ากับ “ดาบยิ้ม” ขณะลั่นไกสังหารตามคำให้การของพยานโจทก์
      
       สุดท้าย “ศาลอาญา” พิจารณาพยานหลักฐานนำสืบทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำพิพากษายกฟ้อง!?! นายกฤษพัฒน์ จาตุรานนท์ นายสุพจน์ แสงอนันต์ และนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง เนื่องจากพยานโจทก์ขัดแย้งกันในสาระสำคัญอย่างสิ้นเชิงไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าจำเลยทั้ง 3 คน ร่วมกันฆ่า ด.ต.สุวิชัย อีกทั้งผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ ก็ไม่สามารถทำให้ศาลเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยได้ว่าจำเลยที่ 5 คือ นายดวงเฉลิม อยู่บำรุง เป็นคนยิงผู้ตายจนเสียชีวิต จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
      
       คำพิพากษา “ยกฟ้องดวงเฉลิม” ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมาย เพราะสังคมได้พิพากษาไปแล้วว่า “ดวงเฉลิม” คือ “ฆาตกร” มิหนำซ้ำต่อมาพนักงานอัยการมีความเห็นไม่สมควรยื่นอุทธรณ์ จำเลยทั้ง 5 โดยให้เหตุผลว่า ที่ศาลชั้นต้นอ้างไว้ในคำพิพากษามีความสมเหตุสมผลแล้ว โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องวิถีกระสุนและระยะห่างระหว่าง ผู้ตายกับผู้ยิงที่จะต้องเป็นลักษณะการกดปากกระบอกปืนประชิด ซึ่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงได้ เช่นเดียวกับนางสุพัตรา ภรรยาหม้ายของดาบยิ้มที่ยอมถอยไม่ยื่นอุทธรณ์เช่นกันทำให้คดีถูกปิดลงแค่ในศาลชั้นต้นเท่านั้น
      
       ย้อนกลับมาดูชีวิตของครอบครัวเหยื่อสังหาร หลังเวลาผ่านไป 6 ปี “สุพัตรา รอดวิมุต” เผยว่าเธอและลูกชาย ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านพักย่านแหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ เมื่อขาดเสาหลักของครอบครัวไป เธอกับลูกชายก็ต้องเหนื่อยกันมากขึ้น โดยเธอได้รวบรวมเงินช่วยเหลือและเงินบริจาคตอนจัดงานศพ “ดาบยิ้ม” และเงินเก็บส่วนตัวได้ก้อนหนึ่ง นำไปซื้อรถบรรทุก 10 ล้อได้ 1 คัน เอาไปฝากวิ่งขนส่งร่วมกับบริษัท ดาริกาทรานสปอร์ท ของเพื่อนสนิทเก็บรายได้จากค่าเช่ามาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว เมื่อรวมกับเงินบำนาญของดาบยิ้มอีกจำนวนหนึ่งก็พอจะใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ลำบาก ส่วนลูกชายตอนนี้กำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาจักษุแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ชีวิตครอบครัวขณะนี้ถือว่ามีความสุขตามอัตภาพ และไม่คิดจะกลับไปทวงถามหาความเป็นธรรมจากใครอีก
      
       คดี “ฆ่าดาบยิ้ม” ถือเป็นคดีสะเทือนขวัญ ที่มีการฆ่ากันจริงๆ ตายกันจริงๆ แต่กลับไม่ได้ “ฆาตกรตัวจริง” มาลงโทษ ถึงวันนี้เวลาผ่านมากว่า 6 ปีแล้ว “ไอ้ปื๊ด” ที่ ร.ต.อ.เฉลิม อ้างว่าเป็นมือปืนตัวจริงตอนนี้อยู่ที่ไหน?! มีใครสนใจจะนำตัวมาดำเนินคดีหรือไม่ ?! หรือเป็นแค่ตัวละครที่ ร.ต.อ.เฉลิม อุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อแก้ข้อกล่าวหาให้ลูกชาย และสุดท้าย การตาย(ฟรี) ของ “ดาบยิ้ม” ก็เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า บางครั้ง “กระบวนการยุติธรรม” ก็ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมให้กับทุกๆ คนได้...
       
 หมายเหตุ-ข้อมูลจากผู้จัดการออนไลน์ 

สาวก Android ซื้อแอพใน Android Market ได้แล้ว!!+วิธีซื้อทำอย่างไร

รายละเอียดนี่เลยครับ

http://www.it24hrs.com/2011/buy-app-android-market/

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับการออกกำลังเพื่อลดไขมัน


เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของการออกกำลังเพื่อเอาไขมันมาใช้ให้มากที่สุดนั้น มีอยู่ 2 ข้อ
1. เป็นการออกกำลังกายในระดับที่ต่ำ ต่ำแค่ไหนหละครับ เราจะใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นตัวกำหนด ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีในการคำนวณ
1.1 สูตร 180 - อายุ ผลลัพธ์ที่ได้นี้คือค่า Max Aerobic แต่ระดับการออกกำลังเพื่อเอาไขมันมาใช้นั้นจะอยู่ต่ำกว่าMax Aerobic อยู่ประมาณ 20 beat / min เช่น อายุ 40 ปี จะมีค่า Max Aerobic = 180 - 40 = 140 ครั้งต่อนาที ระดับความหนักหน่วงของการออกกำลังกายที่เผาไขมันนั้น จะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงประมาณ 140 -20 = 120 ครั้งต่อนาที
1.2 คำนวณจากค่า Max HR ยิ่งถ้าทราบค่าMax HR จริงๆได้ยิ่งดี ระดับความหนักหน่วงนั้นจะอยู่ต่ำจนนึกไม่ถึง เพราะว่าจะอยู่แค่ประมาณ 65-70% Max HR เท่านั้น

2. เป็นการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องและนานอย่างน้อย 40 นาที

สรุปสั้นๆว่า ออกกำลังกายเบาๆ แต่ต้องนานและต่อเนื่อง

คำถามคงมีว่าทำไมต้องนานขนาดนี้ และออกกำลังกายเบากว่าที่คิดเอาไว้ ทั้งนี้เพราะว่าในช่วงแรกของการออกกำลังกายนั้น แหล่งพลังงานทั้งหมดจะมาจากการเอาคาร์โบไฮเดรตที่สะสมไว้ในรูปของไกลโคเจน มาเปลี่ยนเป็นกลูโคสแล้วสลายเป็นพลังงาน การเอาพลังงานจากน้ำตาลมาใช้นั้น จะทำได้โดยง่าย ได้พลังงานเร็ว และปริมาณมาก ( เสมือนการเผาฟืน ) ( ส่วนการเอาพลังงานจากไขมันมาใช้นั้น เป็นเรื่องที่เกิดได้ช้ากว่าและใช้เวลาในการปรับตัวนานกว่า เสมือนกับการเอาถ่านมาเผาไฟ ก็ต้องใช้เวลาในการเผาฟืนเสียก่อน แล้วอาศัยเวลารอให้ถ่านติดไฟ แต่ถ้าหากจะต้องการความร้อนอย่างทันทีทันควัน ก็ต้องเติมฟืนลงไป )

ถ้าหากการออกกำลังกายนั้นยังดำเนินอยู่ต่อไปอย่างเบาๆ กระบวนการสลายไขมันให้เกิดเป็นพลังงานจะเริ่มดำเนินไปอย่างช้าๆ และได้พลังงานออกมาทีละน้อยแต่จะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเรื่อยๆ และร่างกายจะเริ่มลดสัดส่วนการใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตลงตามลำดับ แต่กว่าที่สัดส่วนการใช้ไขมันจะเพิ่มขึ้นจนน่าพอใจนั้น จะต้องออกกำลังกายไปแล้วไม่น้อยกว่า 20 นาที และจะต้องคงระดับความเบาของการออกกำลังไว้เท่าเดิม เพราะถ้าหากเมื่อไหร่ที่เพิ่มความหนักหน่วงขึ้นมาอย่างทันทีทันควัน พลังงานจากการสลายไขมันจะไม่เพียงพอกับการใช้งาน กล้ามเนื้อจะshift mode ไปใช้พลังงานจากน้ำตาลทันที พร้อมๆกับลดการใช้พลังงานจากไขมัน ทำให้ความพยายามที่ดำเนินมาอย่างเนิ่นนานไม่ประสพความสำเร็จอย่างที่คิด

หากการออกกำลังกายอย่างเบาๆนี้ยังดำเนินต่อไปถึง 40 นาทีแล้ว สัดส่วนของไขมันที่เอามาใช้นั้นจะสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดที่เรียกว่าขาดลอย เลยทีเดียว ( อาจจะมากถึง 90 เปอร์เซนต์ของปริมาณพลังงานทั้งหมด ) ถ้าหากคุณมีเวลาเหลือเฟือจะต่อให้ครบชั่วโมงเลยก็ได้ครับ เอิ๊กกกกกก

ส่วนสัปดาห์หนึ่งกี่วันดีหละ ตามข้อมูลจากการศึกษาหลายๆงานวิจัยออกมาในลักษณะคล้ายๆกันคือ ประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์

ส่วนไขมันส่วนไหนจะถูกเอาไปเผาผลาญบ้าง บอกตรงๆเลยว่า ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชังครับ การเอาไขมันไปใช้นั้นจะเป็นลักษณะองค์รวม แต่ก็แปลกอย่างหนึ่ง ส่วนแก้มนั้นมักจะซูบลงก่อน ส่วนพุงมักจะยุบลงช้าสุด แต่เวลาที่อ้วนนั้น ส่วนพุงจะมาก่อน ส่วนแก้มมักจะป่องเป็นแหล่งสุดท้าย เอิ๊กกกกก


ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้เวลาน้อยกว่า แต่ลดไขมันได้ในสัดส่วนที่สูงกว่า นั่นคือการเล่นWeight training ทั้งนี้เพราะการเล่นWeight training เป็นการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐานของกล้ามเนื้อ แต่ไม่ได้เป็นการใช้พลังงานหนักๆแบบต่อเนื่อง กล้ามเนื้อแต่ละมัดจะถูกบังคับให้หดตัวไม่เกิน 50-60 ครั้งเท่านั้น ซึ่งแหล่งพลังงานจะมาจากATPที่สะสมในกล้ามเนื้อเอง มิได้มาจากการสลายกลูโคส จากนั้นจะเกิดผลที่เรียกว่า after effect ตามมาอย่างช้า( แต่ต่อเนื่องนานถึง 3 ชม. เชียวนะ ) ด้วยการค่อยๆสลายไขมันออกมาสร้างเป็นพลังงานไปทดแทน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะว่าร่างกายมีไขมันสะสมอยู่คิดเป็นพลังงานไม่น้อยกว่า 50,000 Cal แต่มีคาร์โบไฮเดรตสะสมอยู่เป็นพลังงานเพียงแค่ 2,000 Cal เท่านั้น , ไขมันจึงเป็นแหล่งพลังงานขั้นพื้นฐานที่ให้แก่ร่างกายสำหรับกิจกรรมที่ไม่ ต้องการการกระชากพลังงานอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน AfterEffectนี้จึงค่อยๆเกิดอย่างช้าๆ


ก่อนจะคิดว่า เราจะลดนน.ลงได้ในระยะเวลาอันสั้นได้หรือเปล่านั้น? ก็ให้ลองคิดว่า"กว่าเราจะอ้วนขึ้นมาได้นั้น เราใช้เวลาไปสักเท่าไหร่" เรามีไขมันสะสมก็เพราะเรากินมากกว่าใช้ ถ้าหากจะทำให้มันลดลง ก็ต้องทำกลับกันคือใช้มากกว่ากิน สูตรอาหารที่ปลอดภัยที่ทาง American Heart Association ( AHA , ซึ่งเป็นองค์กรทางวิชาการแพทย์เกี่ยวกับโรคหัวใจที่มีบทบาทมากที่สุดในโลก ) จะมีสัดส่วนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ต่อ ไขมัน ประมาณ 60 : 40   



ที่มา คุณป๋าลู www.bikelove.com